หน้า:ฎ ๒๕๓๑-๒๓๕๔.pdf/7

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
หมิ่นประมาท ดูหมิ่นซึ่งหน้า • ๘๘
 

ว่า ไม่จำเป็นต้องออกมายืนตากแดดพูดให้พี่น้องฟัง เวลาอย่างนี้เที่ยง ๆ ก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมไปแล้วตื่นอีกทีก็บ่ายสามโมง มีความหมายว่า ทั้งสามพระองค์มีความเป็นอยู่สุขสบาย การงานไม่ต้องทำ พักผ่อนกันตลอด ส่วนข้อความที่จำเลยกล่าวที่อำเภอสตึกว่า ถ้าเป็นพระองค์เจ้าป่านนี้ก็ไม่มายืนพูดให้คอแหบคอแห้ง นี่เวลาก็ตั้งหกโมงครึ่ง ผมเสวยน้ำจัณฑ์เพื่อให้มันสบายอกสบายใจไม่ดีกว่าเหรอ ที่มายืนพูดนี้ก็เมื่อยพระชงฆ์เต็มทีแล้วนะ ข้อความนี้หมายความว่า ทั้งสามพระองค์อยู่อย่างสะดวกสบาย ดื่มสุราเพื่อความสำราญ ผิดกับประชาชนธรรมดาที่ต้องทนกรำแดดกรำฝนไม่มีเวลาพักผ่อน คำว่า บรรทม น้ำจัณฑ์ และพระชงฆ์ เป็นคำราชาศัพท์ ใช้สำหรับพระบาทสมเด็จพระองค์เจ้าอยู่หัว พระมเหสี หรือองค์รัชทายาท ซึ่งความจริงแล้วทั้งสามพระองค์มิได้เป็นอย่างที่จำเลยว่า พระองค์มีพระราชภารกิจอยู่มากมายและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประเทศชาติและความมั่นคง ความอยู่สุขของประชาราษฎร์ พระราชภารกิจประจำวันของพระองค์ ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่จำเลยว่า การกล่าว เช่นนี้ทำให้พระองค์ได้รับความเสียหาย เป็นการใส่ความ ทำให้ประชาชนขาดความเคารพสักการะ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ซึ่งตามปกติพระองค์เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ผู้ใดจะล่วงเกินมิได้ การที่จำเลยกล่าวเช่นนี้เป็นการกล่าวอย่างมีเจตนา โดยเมื่อจำเลยพูดในตอนบ่าย ก็ยกตัวอย่างในช่วงตอนบ่าย ซึ่งเป็นพฤติการณ์ในตอนบ่าย ครั้งถึงตอนเย็นจำเลยก็ยกตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติการณ์ตอนเย็น ซึ่งเรื่องนี้หากจำเลยไม่ตั้งใจ จำเลยจะพูดเพียงครั้งเดียวแล้วไม่พูดอีก แต่จำเลยพยายามที่จะดัดแปลงข้อความในการพูดทั้งสองครั้งให้เข้ากับบรรยากาศในเวลาที่กำลังพูด ต่อมาประชาชนบางกลุ่มมีความเคลื่อนไหวที่จะเดินขบวนประท้วงการกระทำของจำเลย ซึ่งจะเกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง สมาชิกวุฒิสภาและนายทหารราชองค์รักษ์ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ยื่นญัตติไปยังประธานรัฐสภาตามเอกสารหมาย จ. ๑๓ หรือ