หน้า:ฎ ๒๕๓๑-๒๓๕๔.pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๘๙ • ปริญญา จิตรการนทีกิจ
 

ป.จ. ๑ ให้รัฐบาลแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าได้ดำเนินการไปอย่างไร เพื่อประชาชนจะได้ทราบข้อเท็จจริง จำเลยได้ติดต่อขอทำความเข้าใจกับผู้ที่ยื่นญัตติโดยจำเลยยอมรับว่าได้มีการกล่าวข้อความดังกล่าวจริง และในที่สุดจำเลยได้ทำพิธีขอขมา โดยกล่าวขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ห้องรับรองของรัฐสภา ตามข้อความในเอกสารหมาย จ. ๑๔ หรือ ป.จ. ๒ ต่อหน้าสื่อมวลชนและสมาชิกวุฒิสภาที่ยื่นญัตติ การที่จำเลยได้กระทำพิธีขอพระราชทานอภัยโทษดังกล่าว แสดงว่าจำเลยทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพโดยความสมัครใจ ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางราชเลขาธิการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามเอกสารหมาย จ. ๑๕ หรือ ป.จ. ๑๔

จำเลยนำสืบว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะที่ศึกษาอยู่นั้นได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนนักศึกษาของคณะนิติศาสตร์ และเป็นหัวหน้าทีมโต้วาทีของมหาวิทยาลัยหลายปีติดต่อกัน หลังจากจบการศึกษาแล้ว จำเลยประกอบอาชีพเป็นนักหนังสือพิมพ์ทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ไทยรัฐ มติชน และชาวไทย โดยเริ่มงานเป็นผู้สื่อข่าวการเมือง และเขียนบทความการเมืองประจำเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จำเลยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในกรุงเทพมหานคร และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร ๒ ครั้ง และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดพัทลุง ๓ ครั้ง ติดต่อกัน ระหว่างเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จำเลยเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งในพรรคการเมืองจำเลยเคยเป็นกรรมการ