หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/103

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๙๖
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

ข้อความที่ว่า "ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้" ในที่นี้มีความหมายอย่างเดียวกับที่จะกล่าวว่า "เว้นแต่ข้อความในประมวลกฎหมายนี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น" ซึ่งหมายความว่า มาตรา ๑๐๐๘ นี้เป็นหลักทั่วไปซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่ในมาตราอื่น เช่น มาตรา ๙๔๙ และมาตรา ๑๐๐๙ เป็นต้น ทั้งนี้ จะเห็นได้ เช่น ในมาตรา ๑๐๐๘ มีหลักอยู่ข้อหนึ่งว่า ถ้าลายมือในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจแล้ว ผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิจากลายมือปลอมหรือลายมือที่ลงปราศจากอำนาจนั้นเพื่อทำให้ตั่วเงินหลุดพ้นไม่ได้ การใช้เงินตามตั๋วเป็นวิธีที่ทำให้ตั๋วหลุดพ้นได้วิธีหนึ่ง เพราะฉะนั้น จะถือตามหลักนี้แล้ว บุคคลที่ใช้เงินไปตามตั๋วเงินซึ่งมีลายมือชื่อปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจก็ไม่มีทางที่จะหลุดพ้นจากความรับผิดได้เลย แต่ในมาตรา ๙๔ช และมาตรา ๑๐๐๙ บัญญัติถึงวิธ๊ที่จะทำให้ผู้ใช้เงินตามตั๋วหลุดพ้นจากความรับผิดแม้มีลายมือชื่อปลอมหรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ เพราะฉะนั้น มาตรา ๙๔๙ และมาตรา ๑๐๐๙ จึงเป็นข้อยกเว้นของมาตรา ๑๐๐๘ ดั่งนี้เป็นต้น

ข้อความในตอนที่ว่า "ลายมือชื่อปลอมนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอยางใดอย่างหนึ่งเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่า ไม่อาจทำได้เป็นอันขาด" นั้น เป็นข้อความจำกัดสิทธิของผู้ทรง (จะเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ดีป ซึ่งจะฟ้องคู่สัญญาแห่งตั๋วคนใด

ม.ธ.ก.