หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/109

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐๒
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

ผู้ที่จะสอดเข้าแก้หน้า:- มาตรา ๙๕๐ วรรค ๒ และวรรคต่อ ๆ ไปบัญญัติว่า "ภายในเงื่อนบังคับดั่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า บุกคลผู้หนึ่งผู้ใดจะรับรองหรือใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในฐานเป็นผู้สอดเข้าแก้หน้าบุคคลใดผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วนั้นก้ได้

ผู้สอดเข้าแก้หน้านั้นจะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ แม้จะเป็นผู้จ่ายหรือบุคคลซึ่งต้องรับผิดโดยตั๋วเงินนั้นอยู่แล้วก็ได้ ห้ามแต่ผู้รับรองเท่านั้น

ผู้สอดเข้าแก้หน้าจำต้องให้คำบอกกล่าวโดยไม่ชักช้า เพื่อให้คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนเข้าแก้หน้านั้นทราบการที่ตนเข้าแก้หน้า"

บุคคลที่จะสอดเข้าแก้หน้านั้น นอกจากจะเป็นบุคคลภายนอกดั่งกล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ในมาตรา ๙๕๐ ยอมให้บุคคลที่ต้องรับผิดตามตั๋วอยู่แล้วเป็นผู้สอดเข้าแก้หน้าได้ด้วยเว้นแต่ผู้รับรอง ที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ น่าจะเป็นเพราะการสอดเข้าแก้หน้าตามธรรมดาก็เพื่อประสงค์ให้ตั๋วนั้นได้มีการใช้เงิน เมื่อผู้รับรองเป็นผู้ที่จะต้องใช้เงินตามตั๋วนั้นอยู่แล้ว จะให้ผู้รับรองเข้ามารับรองหรือเข้ามาใช้เงินเพื่อแก้หน้าตนเองก็ย่อมไม่ได้ผล กฎหมายจึงห้ามไว้ แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามผู้จ่าย เพราะผู้จ่ายยังไม่ได้เข้ารับรอง เท่ากับยังเป็นคนภายนอกอยู่ อีกประการหนึ่ง การรับรองเพื่อแก้หน้าอาจมีความรับผิดน้อยกว่าการรับรองธรรมดา เพราะในเรื่องรับรองธรรมดา เมื่อผู้รับรองใช้เงินไปแล้ว จะไปไล่เบี้ยเอาจากใครอีกไม่ได้ แต่การรับรองเพื่อแก้หน้านั้น ผู้รับรองเพื่อแก้หน้า เมื่อใช้เงินไปแล้ว อาจไปไล่เบี้ยเอาแก่

ม.ธ.ก.