หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/110

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐๓
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

ผู้อื่นได้ เช่น ผู้รับรองเพื่อแก้หน้าผู้สลักหลังคนหนึ่ง เมื่อใช้เงินไปแล้ว ก็ไปไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลังคนนั้น และผู้สลักหลังคนก่อน ๆ กับผู้สั่งจ่ายได้ เป็นต้น

ผู้สมอ้างยามประสงค์:- ในมาตรา ๙๕๐ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการสอดเข้าแก้หน้านั้น ในวรรคแรกได้มีบัญญัติถึงผู้รับรองหรือใช้เงินยามประสงค์ไว้ ดังนี้ "ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะระบุบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดไว้ก็ได้ว่า เป็นผู้จะรับรองหรือใช้เงินยามประสงค์ณสถานที่ใช้เงิน" การที่กฎหมายยอมให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังระบุชื่อผู้รับรองหรือใช้เงินยามประสงค์ไว้ในตั๋วด้วยนั้น ก็เพื่อจะให้ตั๋วนั้นได้มีการใช้เงินแน่นอนขึ้น เช่นเดียวกับการสอดเข้าแก้หน้า เช่น ผู้สั่งจ่ายมีบัญชีเกี่ยวค้างอยู่กับ ก. และ ข. ตามธรรมดาเมื่อผู้สั่งจ่ายสั่งให้ ก. จ่ายเงิน ก. อาจมีเงินไม่พอจ่าย หรือมีเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะไม่ยอมจ่ายเงินตามตั๋วนั้นให้ก็ได้ เพราะฉะนั้น ผู้สั่งจ่ายจึงอาจระบุชื่อ ข. ไว้ในตั๋วเงินอีกคนหนึ่งก็ได้ว่า จะเป็นผู้ใช้เงินยามประสงค์ เพื่อว่า ถ้าผู้ทรงนำตั๋วไปขึ้นเงินจาก ก. ไม่ได้ ก็จะได้นำไปขึ้นเงินจาก ข. ผู้ใช้เงินยามประสงค์หาใช่ผู้รับรองและหาใช่คู่สัญญาในตั๋วนั้นไม่ แต่มีฐานเหมือนอย่างผู้จ่ายซึ่งยังไม่ได้รับรองตั๋วเท่านั้น

หน้าที่ของผู้ทรง:- สำหรับตั๋วแลกเงินซึ่งระบุชื่อผู้ใช้เงินยามประสงค์ไว้ หรือตั๋วแลกเงินซึ่งได้รับรองเพื่อแก้หน้าแล้วนั้น กฎหมายบังคับว่า ผู้ทรงต้องนำตั๋วยืนบุคคลนั้น ๆ ณสถานที่ใช้เงิน ถ้า

ม.ธ.ก.