หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/44

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๗
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

อุทาหรณ์

ตั๋วแลกเงินฉะบับหนึ่งมีชื่อ ก. เป็นผู้สั่งจ่าย ข. เป็นผู้จ่าย และ ค. เป็นผู้รับเงิน ตั๋วฉะบับนี้ได้มีการสลักหลังกันต่อมาอีก โดย ง. และ จ. เป็นผู้สลักหลัง ในเวลานี้ ฮ. เป็นผู้ทรง.

ถ้า ข. ไม่ยอมรับรอง เป็นเหตุให้ตั๋วแลกเงินขาดความเชื่อถือ ฮ. อาจฟ้อง ก. หรือ ค. หรือ ง. หรือทั้ง ๔ คนก้ได้

ถ้า ข. ยอมรับรองตั๋วแลกเงินแล้วภายหลังไม่จ่าย ฮ. อาจฟ้อง ก. ข. ค. ง. จ. ร่วมกันหรือแต่บางคนก็ได้ ถ้า ฮ. เลือกฟ้องบางคน จะเลือกฟ้องใครก่อนก็ได้ สมมติว่า ฮ. เลือกฟ้อง จ. ก่อน แต่ไม่ได้รับชำระหนี้ ฮ. อาจฟ้อง ก. ผู้สั่งจ่ายอีกได้ และถ้ายังไม่ได้รับชำระหนี้อีก ก็อาจฟ้องคนอื่น ๆ ได้จนกว่า ฮ. จะได้รับชำระหนี้ตามตั๋วนั้น.

สมมุติว่า ง. ซึ่งเป็นผู้สลักหลัง เข้าใช้เงินและเข้ายึดถือเอาตัวเงินนั้น ง. ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้อง ก. ข. ค. ร่วมกันหรือแต่บางคนได้ แต่จะฟ้อง จ. ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ที่ผูกพันอยู่ก่อน ง. จ. เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดตามตั๋วแลกเงินฉะบับนั้น

ถ้า ข. ซึ่งเป็นผู้รับรองชำระเงินตามตั๋ว ก็เป็นอันว่า ตั๋วแลกเงินนั้นบรรลุประสงค์ ได้มีการชำระหนี้กันแล้ว หนี้เดิมเป็นอันระงับ ฮ. ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้ใดอีก.

การที่ผู้ทรงจะเรียกร้องเอาเงินใช้จากผู้ที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินได้เพียงไรนั้น มีบัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖๘ ดั่งนี้ "ผู้ทรงจะเรียกร้องเอาเงินใช้จากบุคคลซึ่งตนใช้สิทธิไล่เบี้ยนั้นก็ได้ คือ

ม.ธ.ก.