หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/46

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๙
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

คำว่า "ค่าชักส่วนลด" ตามมาตราทั้ง ๒ ที่กล่าวมาแล้ว ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "commission" ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับค่าป่วยการ และคิดบวกเข้ากับจำนวนเงินในตั๋วนั้นได้

หมวด ๕
การโอนตั๋วแลกเงิน

ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ลักษณะสำคัญของตั๋วเงินต่างกับหนี้ธรรมดา คือ อาจโอนตั๋วและสิทธิตามตั๋วนั้นให้แก่กันได้โดยเพียงส่งมอบให้แก่กัน หาจำต้องทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนอย่างหนี้ธรรมดาไม่ แต่ทั้งนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่า เมื่อตั๋วเงินนั้นอยู่ในลักษณะที่จะโอนโดยส่งมอบให้แก่กันได้ มิฉะนั้น จะต้องมีการสลักหลังด้วย ในที่นี้ จะได้กล่าวถึงการโอนโดยลักษณะแห่งตั๋วเงินต่อไป

วิธีโอน:- มาตรา ๙๑๗ บัญญัติว่า "อันตั๋วแลกเงินทุกฉะบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม[1] ท่านว่า ย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ ฯลฯ" และมาตรา ๙๑๘ บัญญัติว่า "ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่า ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน" เพราะฉะนั้น การโอนตั๋วแลกเงิน ตามธรรมดาจึงโอนด้วยวิธีสลักหลังและส่งมอบ เว้นแต่ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ เพียงแต่ส่งมอบตั๋วให้แก่กันอย่างเดียวก็พอ


  1. ตามประมวลแพ่ง บรรพ ๒ มาตรา ๓๐๙ ได้กล่าวถึงการโอนหนี้อัน
ม.ธ.ก.