หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/47

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๐
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

วิธีสลักหลัง:- วิธีสลักหลังนั้น ต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ (ดูมาตรา ๙๐๗) ผู้สลักหลังจะเขียนข้อความว่า ให้จ่ายเงินแก่คนนั้นคนนี้ซึ่งจะเป็นผู้รับโอน แล้วลงลายมือชื่อผู้สลักหลังก็ได้ เช่นนี้เรียกว่า "สลักหลังฉะเพาะ" หรือผู้สลักหลังจะลงแต่ลายมือชื่อของตนอย่างเดียวโดยไม่ออกชื่อผู้รับสลักหลังก็ได้ ซึ่งเรียกว่า "สลักหลักหลังลอย"

ตามธรรมดาการสลักหลังนั้นเขียนที่ด้านหลังตั๋วเงิน แต่จะเขียนที่ด้านหน้ากฎหมายก็ไม่ห้าม เว้นแต่ถ้าเป็นการสลักหลังลอย ต้องลงลายมือชื่อในด้านหลังตั๋วเงิน มิฉะนั้น จะกลายเป็นอาวัลไป

ผลของการสลักหลังนั้น ไม่ว่าเป็นการสลักหลังลอยหรือสลักหลังฉะเพาะ ย่อมเป็นการโอนบรรดาสิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วแลก


    พึงชำระตามเขาสั่งว่า จะยกเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ ต่อเมื่อการโอนนั้นได้สลักหลังไว้ในตราสาร และได้ส่งมอบตราสารนั้นให้แก่ผู้รับโอนไปด้วยคำว่า "หนี้อันพึงชำระตามเขาสั่ง" นั้น หาได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไม่ ความจริง ตั๋วเงินก็เป็นเรื่องหนี้อันพึงชำระตามเขาสั่งอย่างหนึ่ง ผู้ร่าง เมื่อเวลาร่างมาตรา ๓๐๙ ก็มีความมุ่งหมายถึงตั๋วเงินอยู่ในใจด้วยแล้วเหมือนกัน แต่ลักษณะตั๋วเงินนี้ได้บัญญัติที่หลัง จึงได้บัญญัติถึงความข้อนี้ไว้อีกเพื่อไม่ให้มีปัญหาในเรื่องตั๋วแลกเงิน อีกประการหนึ่ง "ตั่วแลกเงิน" นั้น ตามบทวิเคราะห์ศัพท์แห่งมาตรา ๙๐๘ อาจเป็นเรื่องให้ใช้เงินแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยฉะเพาะ โดยไม่ระบุให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลใดก็ได้ เพราะฉะนั้น น่าจะทำให้เข้าใจไปได้ว่า แม้ตั๋วแลกเงินจะไม่ได้ระบุว่า สั่งจ่ายให้แก่บุคคลที่เขาสั่ง ก็ตาม ก็โอนกันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบเช่นเดียวกับมาตรา ๓๐๙ นั้นเอง.

ม.ธ.ก.