หน้า:ตำนานพระปริตร - ดำรง - ๒๔๖๒.pdf/16

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๑

อยู่ อีกประการ ๑ สังเกตเห็นว่า ลักษณที่ัจัดลำดับพระปริตต่าง ๆ ทั้งที่เพิ่มคำขัดตำนานขึ้นเป็น ๑๒ ตำนาน เป็นระเบียบเรียบร้อยดีกว่าอย่าง ๗ ตำนาน จึ่งสันนิษฐานว่า ราชปริตเดิมเห็นจะเป็นอย่าง ๗ ตำนาน ต่อมา มีผู้รู้คิดอก้ไขให้เป็นอย่าง ๑๒ ตำนาน ข้าพเจ้าเห็นชอบ ด้วยมีข้อสนับสนุนวินิจฉัยนั้นอยู่ในทางโบราณคดี ที่ประเพณีการสวดมนตร์ในประเทศนี้ แม้ตั้งแต่โบราณมา ย่อมสวด ๗ ตำนานเป็นพื้น ๑๒ ตำนานสวดฉะเพาะแต่ในงานใหญ่ ข้อนี้ส่อให้เห็นว่า คงได้แบบสวดมนตร์อย่าง ๗ ตำนานเข้ามาจากลังกาก่อนช้านาน จนใช้สวดกันเป็นประเพณีบ้านเมืองแล้ว ครั้นเกิดแบบสวด ๑๒ ตำนานขึ้นในลังกาทวีป ได้มายังประเทศนี้เมื่อภายหลัง จึงมิได้ใช้สวดกันในพื้นเมืองแพร่หลายเหมือนอย่าง ๗ ตำนาน

เมื่อแต่งตำนานพระปริตนี้ ข้าพเจ้าได้ให้สืบสวนถึงการสวดพระปริตในลังกาทวีปและประเทศพะม่าในปัจจุบันนี้[1] ได้ความว่า การสวดราชปริตที่ในลังกาทวีปเลิกเสียนานแล้ว แม้ฉะบับก็ศูนย์ จนพระองค์เจ้าปฤษฎางค์หาไปประทาน (พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ตรัสบอกว่า ได้ฉะบับเมืองยะใข่ไป) จึงกลับมีขึ้น การที่สวดมนตร์ พระลังกาสวดพระสูตร์และคาถาต่าง ๆ ตามแต่จะสะดวก แต่การสวดภาณวารในลังกาทวีปยังนับถือกันมากว่า เวลามีการงานของผู้มีบรรดาศักดิ์ เช่น ทำบุญวันเกิด มักนิมนต์พระไปสวดภาณวาร ผลัดกันสวดคราวละ ๔ องค์บ้างหรือ ๒ องค์บ้าง สวดทั้งกลางวันและกลางคืนตลอด ๓ วันก็มี ๕ วันและถึง ๗ วันก็มี ส่วน


  1. มอญเขมรสวดอย่างเดียวกับไทย