หน้า:ตำนานฯ สามก๊ก - ดำรง - ๒๔๗๑ b.pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร

๕. แปลเป็นภาษาไทยเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๔๕

๖. แปลเป็นภาษามลายูพิมพ์[1] เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕

๗. แปลเป็นภาษาลาตินมีฉบับเขียนอยู่ในรอยัลอาเซียติคโซไซเอตี แต่จะแปลเมื่อใดไม่ปรากฏ

๘. แปลเป็นภาษาสเปนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓

๙. แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘

๑๐. แปลเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์[2] เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙


  1. พวกเกาหลีกับพวกญวนใช้หนังสือจีนเป็นหนังสือสำหรับบ้านเมืองอยู่แล้ว บางทีจะใช้หนังสือสามก๊กที่จีนพิมพ์อยู่ก่อนพิมพ์เองต่อชั้นหลัง ที่แปลเป็นภาษาเขมรนั้นเข้าใจว่า แปลจากฉบับพิมพ์ภาษาไทยที่ได้ไปจากกรุงเทพฯ ที่แปลเป็นภาษามลายูพิมพ์ที่เมืองสิงคโปร์ แต่จะได้ฉบับมาแต่ไหนและแปลเมื่อใดหาทราบไม่
  2. หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาลาตินนั้น บาทหลวงโรมันคาทอลิกคนหนึ่งซึ่งได้มียศเป็นบิชอปอยู่ในเมืองจีนเป็นผู้แปล ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษนั้นเคยแปลช้านานแล้ว แต่ว่าแปลเพียงบางตอน มิสเตอร์บริเวตเตเลอพึ่งแปลตลอดทั้งเรื่องแล้วพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จไปได้มาจากเมืองสิงคโปร์ ประทานแก่หอพระสมุดสำหรับพระนคร