ที่ตำบลลาดเหนือ อำเภอตะกั่วป่า มีหินสลักรูปพระนารายณ์ พระลักษณ์ และนางสีดา แผ่นละรูป อยู่ที่ตำบลเหล อำเภอกะปง.
จังหวัดพัทลุง เดิมตั้งเมืองที่อำเภอจะทิ้งพระ แขวงจังหวัดสงขลา ได้มีการโยกย้ายที่ตั้งเมืองมากแห่ง สมัยราว ๑๐๐๐ ปีล่วงมานี้ มีตำนานปรัมปราว่า ตาสามโม และยายเพชร สองผัวเมีย อยู่ตำบลปละทา เป็นหมอลำดำหมอเถ้านายกองช้างของเจ้าพระยากองทอง ผู้คะนองเมืองพัทลุง ต่อมา ตายายได้กุมารจากป่าไผ่เสลียง และได้กุมารีจากป่าไผ่ดง ได้ชื่อว่า นางเลือดขาว เด็กทั้งสองเมื่อเติบโตขึ้นก็ได้เป็นสามีภรรยากัน สามีได้เป็นนายกองส่วยช้างแทนตายายจนมีกำลังมากขึ้น และได้ชื่อว่า พระยากุมาร พระยากุมารกับนางเลือดขาวเป็นผู้ใจบุญ ได้สร้างพระพุทธรูป และสร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ที่เมืองตรังสำหรับเป็นที่พักพระพุทธรูปองค์นั้น และสร้างวัดอื่น ๆ อีกหลายวัดที่ในจังหวัดพัทลุง ข่าวทราบไปถึงกรุงศรีอยุธยามหานครฝ่ายเหนือ (ในที่นี้หมายถึงกรุงสุโขทัย) โปรดให้พระยาพิษณุโลกกับกับนางทองจันทน์มารับนางเลือดขาวไปเป็นมเหสี แต่นางตั้งครรภ์มาก่อนแล้ว พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาไม่ได้ยกขึ้นเป็นมเหสี เมื่อนางเลือดขาวคลอดบุตรเป็นกุมาร พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงขอไว้เป็นราชบุตรบุญธรรม แล้วส่งนางเลือดขาวกลับมาอยู่กับสามีที่พัทลุงตามเดิม