หน้า:ทำศพ - ทองสุก อินทรรัสมี - ๒๔๗๗.pdf/41

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๓

แรม เมื่อประสมเข้ากับเลข ๑๕ ซึ่งเป็นจำนวนเลขสูงสุดของข้างขึ้นแล้ว ตัวท้ายดิถีก็เป็นเลขคี่ทั้งนั้น ดังนั้น เพื่อจะให้จำง่ายว่า วันเผาข้างแรมนั้นเป็นวิถีใดบ้าง จึงพูดเสียว่า ข้างขึ้นเผาคี่ ข้างแรมเผาคู่ ฉะนี้

ความอันนี้ยกขึ้นสู่ปัญหาธรรมว่า ความตายนั้นเป็นของฉะเพาะตนผู้เดียว จะเอาไปให้ผู้อื่นตายแทนไม่ได้ ดังใช้สำนวนพูดกันว่า มาคนเดียว ไปคนเดียว ฉะนี้

เมื่อเผาแล้ว วันรุ่งขึ้น เวลาเช้า ก็จัดเครื่องสามหาบไปยังที่เผาศพ ของสามหาบนั้นก็เป็นเครื่องถวายพระ มีหม้อเข้า เชิงกราน และพริก หอม กระเทียม ฯลฯ อยู่ในสาแหรกข้างหนึ่ง สาแหรกอีกข้างหนึ่งมีของคาวหวาน และจัดอย่างนี้เหมือนกันทั้งสามหาบ และจัดให้บุตร, หลาน, หรือญาติสนิทสามคนเป็นผู้หาบสามหาบคนละหาบ เดินเวียนกองฟอนคนละสามรอบ เวลาที่เดินนั้น ให้กู่กันด้วย ตามวิธีชาวป่าเรียกกันว่า วู้ ๆ ๆ คนละสามครั้ง แล้วจึงนำสามหาบนั้นไปถวายพระ