หน้า:ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล - ๒๔๖๕.pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

มาตรา ๒๙ กิจสาธารณะประโยชน์ซึ่งมีผลเปนกำไร เช่น การตั้งธนาคาร, โรงจำนำ, ตั้งตลาด, รถราง, เรือจ้าง, เหล่านี้เปนอาทิ นคราภิบาลจะดำริห์จัดไปในเวลาที่เห็นสมควรก็ได้ เปนทางหากำไรบำรุงเมืองเพื่อผ่อนภาษีอากรซึ่งราษฎรจะต้องเสีย แลเพื่อกระทำกิจเช่นว่านี้ คณะนคราภิบาลจะออกใบกู้ก็ควร เพราะณี่ประเภทนี้นับว่า ไม่ใช่ณี่ตายที่ไร้ผล.

มาตรา ๓๐ เปนหน้าที่ของนคราภิบาลจะกำหนดการปลูกสร้างวางแผนสำหรับนครเพื่อความงามและอานามัยความผาศุกแห่งธานีเคหะสถานบ้านเรือนที่ทำการต่าง ๆ เมื่อเจ้าของจะปลูกสร้างต้องได้รับอนุญาตจากนายช่างก่อสร้างของนคราภิบาลแล้วจึงปลูกได้.

ดังนี้ สถาปิตยะกรรมแห่งนครจึ่งจะสมานเจริญตา.

มาตรา ๓๑ การขยายเขตนคราภิบาลต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลกลาง.

หมวดที่ ๕
ว่าด้วยการบำรุงรักษาความสอาดแลป้องกันโรคภัย

มาตรา ๓๒ คณะนคราภิบาลมีหน้าที่จัดตั้งเจ้าพนักงานแพนกสุขาภิบาลเพื่อคอยดูแลรักษาความสอาดทั่วไปตลอดทั้งเมือง ว่ากล่าวคนในปกครองให้ระวังรักษาอย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้เกิดความโสโครกอันจะเปนเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่ประชาชนทั่วไป.