หน้า:ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล - ๒๔๖๕.pdf/22

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑

ได้ประโยชน์ คือ ความสดวกและความสุข จากสิ่งนั้นเปนอเนกประการ, แต่ยังหาได้เสียพลีทดแทนให้เพียงพอไม่ ตามที่เปนมาแล้ว, ประชาชนชาวดุสิตราชธานีเคยเสียเงินเปนส่วนราชพลีก็แต่เงินรัช์ชูปการ, กับเสียเงินธานิโยปการก็เพียงแต่เล็กน้อย และยังไม่เปนธรรมสม่ำเสมอกัน, โดยเหตุที่มีผู้หนหนทางหลีกเลี่ยงการเสียเงินนี้เสียเปนอันมาก.

ครั้นเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้มีการประชุมบรรดาทวยนาครแห่งดุสิตราชธานี, มีสมานะฉันท์เห็นพร้อมกันว่า ควรวางระเบียบและอัตราพิกัดภาษีอันเปนธานิโยปการสำหรับดุสิตราชธานีขึ้นใหม่, เพื่อให้นาครเสียเงินบำรุงธานีตามส่วนที่ได้รับผลดีแห่งการปกครองนั้นมากและน้อย.

อาศัยความตกลงพร้อมเพรียงกันในที่ประชุมอันกล่าวแล้วนั้น, อีกทั้งอำนาจของนคราภิบาลที่มีอยู่ตามพระธรรมนูญลักษณปกครองคณนคราภิบาลดุสิตธานี พระพุทธศักราช ๒๔๖๑, หมวดที่ ๔ มาตราที่ ๒๔, ข้าพเจ้า, พระยาอุดมราชาภักดี, นคราภิบาลดุสิตราชธานี, จึ่งตั้งกฎขึ้นใหม่เพื่อวางระเบียบการเก็บเงินธานิโยปการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.

หมวดที่ ๑
ว่าด้วยนามและการใช้กฎนี้

มาตรา ๑. — กฎนี้ให้เรียกว่า "กฎธานิโยปการ พระพุทธศักราช ๒๔๖๕," และให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กันยายน, พระพุทธศักราช ๒๔๖๕ เปนต้นไป.