หน้า:ธศย ๑๒๗.pdf/1

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๕ หน้า ๓๒๙
วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา

โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแลพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่งไว้ต่อไปดังนี้ แลกฎหมายบทใดที่เกี่ยวกับอำนาจศาลต่าง ๆ แลวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งได้ประกาศมาแต่ก่อนบทใดมีข้อความขัดขวางต่อพระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกเสียทั้งสิ้น ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้สืบไป

ประกาศมาณวันที่ ๑ มิถุนายน รัตนโกสินทร ๑๒๗ เปนวันที่ ๑๔๔๔๗ ในรัชกาลปัตยุบันนี้


พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
รัตนโกสินทร์ ๑๒๗

  • หมวดที่ ๑
  • ว่าด้วยศาลยุติธรรม

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า พระธรรมนูญศาลยุติธรรม รัตนโกสินทร์ ๑๒๗ ให้ใช้ได้แต่ในส่วนศาลที่ได้บ่งนามไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา  ในกระทรวงยุติธรรม ให้มีเสนาบดีเปนประธาน เพื่อจะได้บังคับแลแก้ไขการขัดข้องในคดีแลรับผิดชอบให้การพิจารณาแลพิพากษาเปนไปโดยสดวกแลเปนยุติธรรม มีหน้าที่แพนกหนึ่งต่างหากจากการพิจารณาแล

พิพากษาคดีนั้น แลให้มีเจ้าพนักงานสำหรับกระทรวงตามสมควร แลการที่จะตั้งหรือจะเลื่อนจะเปลี่ยนผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเปนหน้าที่ของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจะต้องนำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา

มาตรา  สรรพคดีทั้งปวงซึ่งตามกฎหมายเดิมได้พิจารณาอยู่ในกระทรวงต่าง ๆ แลมีชื่อศาลต่าง ๆ คือ ศาลนครบาล ๑ ศาลแพ่งเกษม ๑ ศาลแพ่งกลาง ๑ ศาลอาญานอก ๑ ศาลอุทธรณ์กรมมหาดไทย ๑ ศาลกรมนา ๑ ศาลกรมท่าซ้าย ๑ ศาลกรมท่าขวา ๑ ศาลคดีต่างประเทศ ๑ ศาลราชตระกูล ๑ ศาลมรฎก ๑ ศาลสรรพากร ๑ ศาลธรรมการ ๑ รวมทั้งศาลฎีกาด้วย เปน ๑๕ ศาล กับศาลฝ่ายพระราชวังบวรที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ได้พิจารณาคดีทั้งปวง แลขึ้นอยู่แก่อธิบดีกรมต่าง ๆ นั้น ให้ยกคดีเหล่านี้ กับผู้พิจารณาตระลาการในกระทรวงแลศาลทั้งปวง มารวมยังศาลสถิตย์ยุติธรรมที่ได้ตั้งขึ้นเปนกระทรวงใหญ่ได้บังคับบัญชาเปนแห่งเดียวกัน

มาตรา  ศาลทั้งปวงซึ่งตามธรรมเนียมเดิมมีชื่อต่าง ๆ ดังที่ว่าไว้ในมาตรา ๓ นั้น ให้ยกเลิกเสีย คงให้แบ่งศาลทั้งปวงเปนศาลฎีกาแพนก ๑ รับผิดชอบต่อพระบาทสมเด็จ