หน้า:ธศย ๑๒๗.pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๑๒๗
เล่ม ๒๕ หน้า ๓๓๐
ราชกิจจานุเบกษา

พระเจ้าอยู่หัว แลที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงยุติธรรมอีก ๒ แพนก คือ ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ แพนกหนึ่ง ศาลหัวเมืองแพนกหนึ่ง ส่วนศาลหัวเมืองนั้นให้เปนไปตามความในพระธรรมนูญศาลหัวเมือง ส่วนศาลในกรุงเทพฯ ให้แบ่งเปน ๕ ศาล คือ ศาลอุทธรณ์ ๑ ศาลพระราชอาญา ๑ ศาลแพ่ง ๑ ศาลต่างประเทศ ๑ ศาลโปริสภา ๑ รวมเปน ๕ ศาลเท่านั้น

มาตรา  คดีทั้งปวงที่ราษฎรจะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาได้ คือ ในการกล่าวโทษหรือคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่าง ๑ หรือกล่าวโทษเสนาบดีเจ้ากระทรวงทั้งปวงในข้อที่เกี่ยวด้วยหน้าที่ราชการซึ่งห้ามไม่ให้ฟ้องร้องยังโรงศาลได้อย่าง ๑ ก็ให้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาในข้อความร้องทุกข์นั้น

  • หมวดที่ ๒
  • ว่าด้วยศาลฎีกา

มาตรา  ศาลฎีกาซึ่งได้ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุญาตนั้น ให้เปนศาลสูงสุดในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง จะมีกรรมการกี่คนแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อกรรมการประชุมพร้อมกันไม่น้อยกว่า ๓ จึงเปนองค์คณะตรวจตัดสินฎีกาได้ แลถ้าความเรื่องใดมีปัญหาด้วยข้อกฎหมาย หรือมีข้อ

สงไสยอันใดในกระบวนพิจารณาพิพากษา แลกรรมการศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ก็ให้ศาลฎีกามีอำนาจนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาได้ก่อนพิพากษาคดีนั้น ๆ

มาตรา  คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วในคดีเรื่องใด ห้ามไม่ให้คู่ความทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาชั้นที่ ๒ อีก

  • หมวดที่ ๓
  • ว่าด้วยอำนาจศาลแลผู้พิพากษา
  • ในศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ

มาตรา  ให้ศาลอุทธรณ์ในกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาแลพิพากษาคดีได้ตามข้อความที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาซึ่งเกี่ยวด้วยศาลอุทธรณ์ทุกประการ

มาตรา  ผู้พิพากษาซึ่งจะพิจารณาแลพิพากษาคดีชั้นอุทธรณ์นี้ ให้มีจำนวนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป จึงจะเปนองค์คณะได้

มาตรา ๑๐ ให้ศาลพระราชอาญามีอำนาจที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีอาญาทั่วไปตลอดพระราชอาณาเขตร์ตามข้อความที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาซึ่งเกี่ยวด้วยศาลพระราชอาญาทุกประการ