หน้า:ธศย ๑๒๗.pdf/7

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๕ หน้า ๓๓๕
วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๓๑ ผู้พิพากษาที่เปนผู้รับผิดชอบดังที่ได้กล่าวมาในมาตรา ๓๐ มีหน้าที่ดังนี้อีก คือ

ข้อ  ที่ตรวจตราตักเตือนให้การในศาลที่อยู่ในบังคับเปนไปโดยเรียบร้อย

ข้อ  เปนที่หาฤๅความขัดข้องของผู้พิพากษาอื่น

ข้อ  ที่จะเรียกรายงานการคดีแลการศาลที่อยู่ในบังคับ

ข้อ  ที่จะปฤกษาหาฤๅด้วยเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในการที่จะจัดแลรักษาการศาลให้เรียบร้อย

ข้อ  ที่จะทำรายงานการคดีส่งมาตามระเบียบ

มาตรา ๑๒ ข้าหลวงพิเศษจัดการศาลหัวเมืองมีอำนาจบังคับผู้พิพากษาในหัวเมืองเรื่องการจัดศาลแลการพิจารณาพิพากษาคดี เมื่อผู้พิพากษาเห็นสมควรแล้ว มีอำนาจขอให้ข้าหลวงพิเศษออกคำสั่งนั้นเปนลายลักษณ์อักษรเซ็นชื่อข้าหลวงพิเศษนั้น ๆ ได้

คำสั่งของข้าหลวงพิเศษดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจยกถอนได้

  • หมวดที่ ๙
  • ว่าด้วยอัยการ

มาตรา ๓๓ ให้มีอัยการไว้สำหรับเปนทนายแผ่นดินแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง กรมอัยการในกรุงเทพมหานครให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงยุติธรรม อัยการหัวเมืองให้ขึ้นอยู่ในกระทรวง

เจ้าหน้าที่ซึ่งรักษาราชการเมืองแลมณฑลนั้น

มาตรา ๓๔ วิธีตั้งพนักงานอัยการนั้น ในกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งเจ้ากรมแลปลัดกรมอัยการ ตั้งโดยพระบรมราชานุญาต พนักงานอัยการในกรุงเทพฯ เจ้ากรมอัยการเปนผู้จัดสรรตั้งโดยได้รับอนุมัติของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พนักงานอัยการในหัวเมืองต่าง ๆ นั้น เสนาบดีเจ้ากระทรวงที่รักษาราชการเมืองตั้งยกระบัตร์มณฑลแลยกระบัตร์เมือง ข้าหลวงสำเร็จราชการมณฑลจัดตั้งตำแหน่งพนักงานอัยการที่รองแต่ยกกระบัตร์ลงมา

มาตรา ๓๕ อัยการมีหน้าที่รับว่าคดีในประเภทต่อไปนี้

ข้อ  ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่งเรื่องใดซึ่งเกี่ยวกับรัฐบาล

ข้อ  ในคดีแพ่งแลอาญาซึ่งข้าราชการต้องถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ทำไปในหน้าที่ซึ่งเห็นสมควรที่อัยการจะว่าต่างข้าราชการนั้น

ข้อ  เปนโจทย์ในคดีอาญามีโทษหลวง

ข้อ  ในคดีอาญาที่มีโจทย์ เมื่ออัยการเห็นควรจะรวมเปนโจทย์ด้วยก็ได้ หรือเมื่อโจทย์จะทิ้งคดีเสีย อัยการมีอำนาจที่จะเปนโจทย์ได้เอง

ข้อ  ในคดีที่ศาลไต่สวนส่งมาให้ฟ้องยังศาลสูง อัยการมีอำนาจที่จะสั่งให้ศาลไต่สวนฟังพยานต่อไปอีกได้ หรืออัยการจะสั่งให้ศาลไต่สวนพิจารณาพิพากษาเสียเอง ตามอำนาจมากแลน้อยของศาลไต่สวนนั้นก็ได้