หน้า:ธศย ๒๔๗๗ (๐๑).pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๗๘
เล่ม ๕๒ หน้า ๙๙๓
ราชกิจจานุเบกษา

ถ้าเป็นคดีในศาลแขวง เมื่อผู้พิพากษานายเดียวได้พิจารณาพะยานหลักฐานแห่งคดีไปแล้วปรากฏว่า โทษของจำเลยควรจำคุกเกินกว่าหกเดือนหรือปรับเกินสองร้อยบาท ก็ให้ศาลแขวงทำความเห็นส่งสำนวนไปให้ศาลอาญาหรือศาลจังหวัดพิพากษา แล้วแต่กรณี

และมีอำนาจ

(๑) ทำการไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีแพ่ง ยกเว้นในกรณีที่ผู้ร้องสอดร้องขอเป็นโจทก์หรือจำเลย

(๒) ทำการไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญาทั้งปวง

ศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวง ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองนาย จึ่งเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง

เมื่อผู้พิพากษาไม่สามารถจะนั่งพิจารณาความให้ครบองค์คณะได้ ให้ผู้พิพากษาที่จะนั่งพิจารณาคดีนั้นมีอำนาจเชิญบุคคลที่มีลักษณะดั่งจะกล่าวต่อไปนี้นั่งเป็นสำรองผู้พิพากษาเพื่อให้ครบองค์คณะ