หน้า:นพรัตน์ - ๒๔๖๔.pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ข้าพระพุทธเจ้า พระยาสุริยวงศ์มนตรี, พระมหาวิชาธรรม, หลวงลิขิตปรีชา, หลวงภักดีจินดา, นายชม ปฤกษาพร้อมกันสอบตำราเพชรรัตน์กับตำหรับพราหมณ์ซึ่งหลวงภักดีจินดาได้เรียนไว้มาชำระเทียบต้องกันสามฉบับ พระมหาวิชาธรรมค้นพระบาฬีพุทธศาสตร์ประกอบกับตำหรับไสยศาสตร์ หลวงลิขิตปรีชา อาลักษณ แต่งตำหรับพุทธศาสตร์ประกอบกับตำราไสยศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวาย ในพระบาฬีคัมภีร์พุทธศาสตร์นั้นว่า

"วชิรํ รตฺตํ อินฺทนีลํ เวฬุริยํ รตฺตกาฬมิสฺสกํ โอทาตปีตมิสฺสกํ นีลํ ปุสฺสราคํ มุตฺตาหารัญฺจาติ อิมานิ นวกาทีนิ รตนานิ ตสฺมา รตนชาติโย อเนกวิธา นานาปเทเสสุ อุปฺปชฺชนฺตีติ เวทิตพฺพา"[1]

อธิบายตามพระบาลีว่า รตนานิ อันว่ารัตนชาติทั้งหลาย อเนกวิธา มีประการเปนอันมากจะประมาณมิได้ นวกาทีนิ มีแก้วเก้าประการเปนอาทิ คือ แก้ววิเชียร ๑ แก้วแดง ๑ แก้วอินทนิล ๑ แก้วไพฑูรย์ ๑ แก้วรัตกาลมิศก ๑ แก้วโอทาตปีตมิศก ๑ นีลรัตน์ ๑ แก้วบุษราคำ ๑ แก้วมุกดาหาร ๑ แก้วทั้งเก้าประการมีพรรณต่างกัน แต่แก้ววิเชียรนั้นมีสีงามบริสุทธิ์ดุจดังน้ำอันใส ตำราไสยศาสตร์ชื่อว่า 'เพ็ชร' นับถือว่า เปนมงคลอันพราหมณ์ทั้งหลายนำมาใช้ให้ช่างเจียรในผูกเรือนธำมรงค์


  1. ไม่ใช่พระบาฬีที่เปนพระพุทธวัจนะ เปนความที่คัดมาจากสำนวนอรรถกถาซึ่งแก้ความในพระบาฬีเดิมบางแห่งอันกล่าวถึงรัตนะ