หน้า:นิทานอีสป (2499).pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๙ –

ของชาติในเวลานั้น จึงไม่ต้องการให้นักเรียนได้ปริญญา พอใครเรียนจบวิชาครู ก็เรียกตีวเข้ามารับราชการโดยเร็ว และอีกประการหนึ่ง ทางราชการต้องการให้ครูคน ๑ สอนวิชาได้หลาย ๆ อย่าง เพื่อเร่งการศึกษาให้ทันสมัย นักเรียนครูต่างประเทศจึงกลับมาพร้อมด้วยวิชาครูกับวิชาพิเศษอย่างบอื่นเข้ามาด้วย เฉพาะครูสาตร นอกจากมีความรู้ทางวิชาครู ยังรู้วิชาพิเศษติดตัวมาด้วยถึง ๒ วิชา คือ วิชาเคมี และจิตตวิทยา ถึงแก่เขียนตำราเคมีเป็นครั้งแรก เรียกว่า รสายนศาสตร์ กับตำราจิตติวิทยา ซึ่งเรียกว่า อัธยาตมวิทยา ให้เรารู้เห็นเป็นการเปิดหูเปิดตาในทางวิทยาศาสตร์มาก่อน นี่เป็นคุณสมบัติของครู คือ ครูได้เรียนความรู้หลาย ๆ อย่าง เพอประโยชน์แก่อนุชน ภาษาก็รู้ คณนาวิทยาก็รู้ และวิทยาศาสตร์ก็รู้ ถึงจะไม่รู้อย่างเชี่ยวชาญ แต่เมื่อเกี่ยวข้องกับวิชานั้น ๆ ครูที่ดีก็ย่อมเข้าใจ นี่เป็นการแผ่วิชาให้แก่เด็กอีกทอด ๑

ในส่วนวิชาครู เป็นวิชาที่ครูสาตรศึกษามาอย่างเชี่ยวชาญ แต่วิชาครูในเมืองอังกฤษเวลานั้นเขาเรียนตามทฤษฎีของแฮร์บาต นักปราชญ์ทางการศึกษาของเยอรมัน กับทฤษฎีของสเปนเซอร์เป็นหลัก ทั้งสองหลักนี้รวมกันเข้าได้ว่า การสอนให้นักเรียนรู้นั้นเป็นข้อสำคัญ หลักการสอนนี้จัดให้ความรู้เข้าสู่จิตใจของเด็กด้วยประสาททั้ง ๕ คือ ทางหู ทางตา ทางลิ้มรส (ลน) ทางกลิ่น และทางสัมผัส ตรงกับอายตนะทางพุทธศาสนา แล้วรวมจัดการสอนออกเป็นสองทาง คือ ๑. สองตั้งแต่ง่าย คือ เหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ามาสู่ต้นเหตุรวมยอดเป็นกฎเกณฑ์ ๒. ตั้งแต่ยากไปหาง่าย คือ อธิบายแยกแยะออกไปจน