หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/117

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
นิทานที่ 9
เรื่อง หนังสือหอหลวง

(1)

หอหลวงเปนที่เก็บรักสาหนังสือซึ่งเปนแบบฉบับ ตำหรับตำรา และจดหมายเหตุราชการบ้านเมือง (ที่เรียกว่า "หอหลวง" เห็นจะเปนคำย่อมาแต่ "หอหนังสือหลวง") มีไนพระราชวังมาแต่ครั้งกรุงสรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ก็มีหอหลวงหยู่ที่ไนพระราชวังเช่นเดียวกัน ฉันเคยเห็น เปนตึกชั้นเดียวหลังหนึ่งหยู่ริมถนนตรงหน้าพระที่นั่งอมรินทวินิจฉัย ยังมีรูปภาพตึกนั้นเขียนไว้ไนพระวิหารหลวงวัดราชประดิถฯ (ห้องที่เขียนการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ) อาลักสน์เปนพนักงานรักสาหนังสือหอหลวง จึงทำการของกรมอาลักสน์ที่ตึกนั้นด้วย เปนเหตุไห้คนทั้งหลายเรียกตึกนั้นว่า "ห้องอาลักสน์" ด้วยอีกหย่างหนึ่ง

ไนรัชกาลที่ 5 (ดูเหมือนไนปีชวด พ.ส. 2419) เมื่อส้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โปรดไห้รื้อตึกหอหลวงกับตึกสำหรับราชการกรมอื่น ๆ ที่รายเรียงหยู่แถวเดียวกันลง เพื่อจะส้างไหม่ไห้งามสมกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ก็ไนเวลารื้อตึกส้างไหม่นั้น จำต้องย้ายของต่าง ๆ อันเคยหยู่ไนตึกแถวนั้นไปไว้ที่อื่น สมัยนั้น กรมหลวงบดินทไพสาลโสภนยังดำรงพระยสเปนกรมหมื่นอักสรสารโสภน ซงบันชาการกรมอาลักสน์ หาที่อื่นเก็บหนังสือหอหลวงไม่ได้ จึงไห้ขนเอาไปรักสา