หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/118

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
103

ไว้ที่วังของท่านอันหยู่ต่อเขตวัดพระเชตุพนฯ ไปข้างไต้ หนังสือหอหลวงก็ไปหยู่ที่วังกรมหลวงบดินทฯ แต่นั้นมาหลายปี

(2)

เมื่อ พ.ส. 2424 มีงานฉลองอายุพระนครครบ 100 ปี ไนงานนั้นมีการสแดงพิพิธภันฑ์ เรียกกันไนสมัยนั้นตามภาสาอังกริดว่า "เอ๊กซหิบิเชน" ส้างโรงชั่วคราวเปนบริเวนไหย่ไนท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวดำหรัดชวนพระบรมวงสานุวงส์ และข้าราชการตลอดจนครึหะบดีที่มีไจจะช่วยไห้จัดของต่าง ๆ อันควนอวดความรู้และความคิดกับทั้งฝีมือช่างของไทยมาตั้งไห้คนดู จัดที่สแดงเปนห้อง ๆ ต่อกันไปตามประเพทสิ่งของ ครั้งนั้น กรมหลวงบดินทฯ ซงรับสแดงหนังสือไทยฉบับเขียน เอาสมุดไนหอหลวงที่มีมาแต่โบรานมาตั้งอวดห้องหนึ่ง นาย ก.ส.ร. กุหลาบ รับอาสาสแดงหนังสือไทยสมัยเมื่อแรกพิมพ์ห้องหนึ่งหยู่ต่อกับห้องของกรมหลวงบดินทฯ ด้วยเปนของประเภทเดียวกัน ฉันเคยไปดูทั้ง 2 ห้องและเริ่มรู้จักตัวนายกุหลาบเมื่อครั้งนั้น เรื่องประวัติของนายกุหลาบคนนี้กล่าวกันว่า เดิมรับจ้างเปนเสมียนหยู่ไนโรงสีไฟของห้างมากวลด์ จึงเรียกกันว่า "เสมียนกุหลาบ" ทำงานมีผลจนตั้งตัวได้ ก็ส้างบ้านเรือนหยู่ริมแม่น้ำข้างไต้วัดราชาธิวาสฯ นายกุหลาบเปนผู้มีอุปนิสัยรักรู้โบรานคดี ได้พยายามหาหนังสือฉบับแรกพิมพ์ เช่น หมายประกาสที่พิมพ์