หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/122

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
107

แก่พม่า พอหนังสือเรื่องนั้นพิมพ์ออกจำหน่าย ไครอ่านก็พากันพิสวง ด้วยฉบับเดิมเปนหนังสือซ่อนหยู่ไนหอหลวงลับลี้ไม่มีไครเคยเห็น และไม่มีไครรู้ว่า นายกุหลาบได้มาจากไหน นายกุหลาบก็เริ่มมีชื่อเสียงว่า เปนผู้รู้โบรานคดีและมีตำหรับตำรามาก แต่หนังสือเรื่องคำไห้การขุนหลวงหาวัดฉบับที่นายกุหลาบไห้พิมพ์นั้นมีผู้ชำนาญวรรนคดีสังเกตเห็นว่า มีสำนวนแซกไหม่ปนหยู่ไนนั้น แม้พระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวก็ซงสังเกตเห็นเช่นนั้น จึงซงปรารภไนพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระราชพิธีสิบสองเดือน" ตอนพิธีถือน้ำว่า "แต่ส่วนจดหมายขุนหลวงหาวัด (ฉบับพิมพ์) นั้น ก็ยกความเรื่องถือน้ำไปว่านอกพระราชพิธี มีเค้ารูปความคล้ายคลึงกับที่ได้ยินเล่ากันมาบ้าง แต่พิสดารฟั่นเฝือเหลือเกิน จนจับได้ชัดเสียแล้วว่า มีผู้แซกแซมความแต่งขึ้นไหม่ ด้วยเหตุว่า พระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนหาได้สเด็ดพระราชดำเนินออกไห้ข้าราชการถวายบังคมถือน้ำพระพิพัธนสัจจาถึงวัดไม่ พึ่งจะมาเกิดทำเนียมนี้ขึ้นเมื่อไนรัชกาลที่ 4 ก็เหตุไดไนคำไห้การขุนหลวงหาวัดจึงได้เล่าเหมือนไนรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินท์ จนแต่งตัวแต่งตนและมีสเด็ดโดยขบวนพยุหยาตราวุ่นวายมากไป ซึ่งไม่ได้เคยมีมาแต่ก่อนเลย ดังนี้ ก็เห็นว่า เปนอันชื่อไม่ได้ไนตอนนั้น พึ่งมีปรากตไนฉบับที่ตีพิมพ์นี้ฉบับเดียว สำนวนที่เรียงก็ผิดกับอายุขุนหลวงหาวัด ถ้าของเดิมขุนหลวงหาวัดได้กล่าวไว้ถึงเรื่องนี้จิง เมื่อเราได้อ่านซาบความก็จะเปนที่พึงไจเหมือนหนึ่งทองคำเนื้อบริสุทธิ์ซึ่งเกิดจากตำบนบางตะพาน