หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/135

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
120

ว่าล้วนเขียนไนสมุดไทย ประเภทหนึ่ง ถ้าเปนหนังสือตำหรับตำรา เช่น ตำราเลขยันต์หรือคาถาอาคม เปนต้น อันเจ้าของประสงค์จะซ่อนเร้นไว้แก่ตัว มักจานลงไนไบลานขนาดสั้นสักครึ่งคัมภีร์พระธัมร้อยเชือกเก็บไว้ แต่ล้วนเปนหนังสือคัมภีร์ไบลาน ประเภทหนึ่ง ถ้าเปนจดหมายมีไปมาถึงกัน แม้ท้องตราหรือไบบอกไนราชการ ก็เขียนลงไนกะดาดข่อยด้วยเส้นดินสอดำม้วนไส่กะบอกไม้ไผ่ลงไป เมื่อเส็ดกิจแล้วก็เอาเชือกผูกเก็บไว้เปนมัด ๆ มักมีแต่ตามสำนักราชการ ประเภทหนึ่ง หนังสือฉบับเขียนทั้ง 3 ประเภทที่ว่ามา ประเภทที่เขียนไนสมุดไทยมีมากกว่าหย่างอื่น แต่ที่นับว่า เปนฉบับดี ๆ เพราะตัวอักสรเขียนงามและสอบทานถูกต้องประกอบกัน นอกจากหนังสือหอหลวง มักเปนหนังสือซึ่งเจ้านายและขุนนางผู้ไหย่ไนรัชกาลก่อน ๆ ส้างไว้ แล้วแบ่งกันเปนมรดกตกหยู่ไนเชื้อวงส์เปนแห่ง ๆ ก็มี ที่ผู้รับมรดกรักสาไว้ไม่ได้แตกกะจัดกะจายไปตกหยู่ที่อื่นแห่งละเล็กละน้อยก็มี หนังสือพวกที่จานไนไบลานก็มีน้อย ถ้าหยู่กับผู้รู้วิชานั้นมักหวงแหน แต่ก็ได้มาบ้าง มักเปนเรื่องแปลก ๆ เช่น ลายแทงคิดปริสนาและตำราพิธีอันมิไคร่มีไครรู้ แต่มักไม่น่าเชื่อคุนวิเสสที่อวดอ้างไนหนังสือนั้น แต่หนังสือซึ่งเขียนด้วยกะดาดเพลามักมีแต่ของหลวงหยู่ตามสำนักราชการ ฉันเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทยหยู่ด้วย ไห้ส่งหนังสือจำพวกนี้ที่มีหยู่ไนกะซวงและที่ได้พบตามหัวเมืองไปยังหอพระสมุดฯ ทั้งหมด แต่ไนสมัยเมื่อฉันหาหนังสือฉบับเขียนสำหรับหอพระสมุดฯ นั้น พวกฝรั่งและพวกเล่นสะสมของ