หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/143

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
128

จากเมืองไทยสักเท่าได ฉันจึงไปบอกที่หอสมุดของรัถบาล British Museum Library ว่า ฉันหยากจะเห็นหนังสือไทยฉบับเขียนที่มีหยู่ไนหอสมุดนั้น ถ้าหากว่าเขายังไม่ได้ทำบันชี จะไห้ฉันช่วยบอกเรื่องไห้ลงบันชีด้วยก็ได้ ฉันหมายว่า ถ้าพบเรื่องที่ไม่มีฉบับหยู่ไนเมืองไทย ก็จะขอคัดสำเนาด้วยรูปฉายเอากลับมา ฝ่ายอังกริดเขาเคยได้ยินชื่อว่า ฉันเปนนายกหอพระสมุดฯ ก็ยินดีที่ฉันจะบอกไห้หย่างนั้น ครั้นถึงวันนัด เขาขนหนังสือไทยบันดามีมารวมไว้ไนห้องหนึ่ง และไห้พนักงานทำบันชีมาคอยรับ ฉันไปนั่งตรวดและบอกเรื่องแปลเปนภาสาอังกริดไห้เขาลงบันชีทุกเล่ม ต้องไปนั่งหยู่ 2 วันจึงตรวดหมด ด้วยไนหอสมุดนั้นมีหนังสือไทยมากกว่าที่อื่น แต่เห็นล้วนเปนเรื่องที่มีไนหอพระสมุดฯ ทั้งนั้น ก็ไม่ต้องขอคัดสำเนา เมื่อฉันไปถึงกรุงเบอร์ลิน ไห้ไปบอกหย่างเช่นที่กรุงลอนดอน รัถบาลเยอรมันก็ไห้ฉันตรวดหนังสือด้วยความยินดีหย่างเดียวกัน หนังสือไทยที่ไนหอสมุดกรุงเบอร์ลินมีน้อยกว่าหอสมุดกรุงลอนดอน แต่เปนหนังสือฉบับหลวงซึ่งได้ไปจากหอหลวงไนกรุงเทพฯ โดยมาก เขาเชิดชูหนังสือไตรภูมิฉบับหลวงครั้งกรุงธนบุรีซึ่งซื้อราคาถึง 1,000 บาทนั้นเหมือนหย่างว่าเปนนายโรง แต่ประหลาดหยู่ที่หนังสือไตรภูมินั้นมี 2 ฉบับ ส้างก็ครั้งกรุงธนบุรีด้วยกัน และเหมือนกันทั้งตัวอักสรและรูปภาพ ขนาดสมุดก็เท่ากัน ฉบับหนึ่งคุนท้าววรจันท (เจ้าจอมมารดาวาด รัชกาลที่ 4) ได้มาจากไหนไม่ปรากต แต่ทูนเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็ดพระจุลจอม