หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/162

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
147

แต่กะนั้น ต้นไม้ที่โค่นกีดขวางบางต้นไหย่โตเหลือกำลังที่พวกทำทางจะตัดทอนชักลากเอาไปทิ้งที่อื่นได้ จึงต้องเข็น หรือข้าม หรือหลีกขอนไม้มาไม่รู้ว่า วันละสักกี่ครั้ง เปนความลำบากและชวนไห้ท้อไจไนการล่องลำน้ำสักยิ่งกว่าหย่างอื่น แต่ต้องนึกชมความคิดของคนโบรานที่เขาคิดทำเรือมาดขึ้นกะดานเช่นเรือพายม้าไช้ไนที่เช่นนั้น เพราะท้องเรือมาดเปนไม้หนา ถึงจะเข็นลากลู่ถูกังหย่างไรก็ทนได้ ที่ขึ้นกะดานต่อขึ้นมา 2 ข้างก็ทำไห้เรือเบา บันทุกได้จุกว่าเรือมาดทั้งลำ เปนของคิดถูกตามวิทยาสาตร ถ้าเปนเรือต่อ เช่นเรือบดหรือเรือสำปั้น ก็เห็นจะแตกป่นล่องลำน้ำสักลงมาไม่ได้ตลอด เมื่อก่อนไปมนทลเพชรบูรน์ฉันเคยเห็นเรือมอขนาดไหย่บันทุกสินค้าเมืองเพชรบูรน์ลงมาขายถึงกรุงเทพฯ เสมอทุกปี เมื่อต้องไปเข็นเรือข้ามขอนดังกล่าวมาแล้ว คิดไม่เห็นว่า เรือไหย่ที่บันทุกสินค้าจะล่องลงมาถึงกรุงเทพฯ ได้หย่างไร ถามพวกชาวเมืองเพชรบูรน์ เขาบอกว่า เรือบันทุกสินค้าเหล่านั้นไม่ได้ขึ้นล่องทางลำแม่น้ำสักตลอด ประเพนีของพวกพ่อค้า เมื่อไกล้จะถึงเวลาน้ำหลาก เขาบันทุกสินค้าลงเรือเตรียมไว้ พอน้ำท่วมฝั่ง ก็ล่องเรือหลีกลำน้ำสักตอนมีไม้ล้มกีดขวางไปตามที่ลุ่มที่น้ำท่วมบนตลิ่ง จนถึงที่กว้างพ้นเครื่องกีดขวาง จึงล่องทางลำน้ำสัก เมื่อส่งสินค้าแล้ว ก็รีบซื้อของไนกรุงเทพฯ บันทุกกลับขึ้นไปไห้ทันไนรึดูน้ำ พอถึงเมืองเพชรบูรน์ ก็เอาเรือขึ้นคาน เรือบันทุกสินค้าขึ้นล่องแต่ปีละครั้งเดียวเท่านั้น นอกจากต้นไม้ล้มกีดขวางทางเดินเรือดังกล่าวมา ยังมีแก่ง