หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/170

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
155

เองไม่ต้องถาม แม้จนเมื่อฉันกลับมาลงเรือแล้ว ก็ยังมีคนตามมาบอกว่า ยังมีรูปสิลาจำหลักหยู่ที่นั่น ๆ ข้างนอกเมืองที่ฉันไม่ได้ไปถึงอีกหลายหย่าง ได้เครื่องสิลามาหลายสิ่ง เดี๋ยวนี้หยู่ไนพิพิธภันท์สถาน มีสิ่งหนึ่งซึ่งควนจะกล่าวถึง ด้วยเปนของสำคันทางโบรานคดีไม่เคยพบที่อื่น คือ “หลักเมือง” ทำด้วยสิลาเปนรูปตะปูหัวเห็ด ทำรอยฝังปลายตะปูลงไนแผ่นดิน เอาแต่หัวเห็ดไว้ข้างบน จารึกอักสรเปนภาสาสันสกริตไว้ที่หัวเห็ด เดี๋ยวนี้รักสาไว้ไนหอพระสมุดวชิรญาน เปนตัวหย่างไห้เห็นว่า หลักเมืองตามแบบโบรานเขาทำหย่างไร

เมื่อดูเมืองโบรานนั้นแล้ว อาดจะลงความเห็นเปนยุติได้สองหย่าง หย่างที่หนึ่ง เมืองโบรานนั้น พวกพราหมน์จะขนานชื่อว่ากะไรก็ตาม เปนมูลของชื่อเก่าเมืองวิเชียรที่เรียกว่า “เมืองสีเทพ” เพราะยังเรียกเปนชื่อตำบนบ้านชานเมืองมาจนบัดนี้ หย่างที่สอง ไนสมัยเมื่อครั้งขอมปกครองเมืองไทย เมืองสีเทพคงเปนมหานครอันหนึ่ง ชั้นเดียวกันกับเมืองที่ดงสรีมหาโพธิ (ไนแขวงจังหวัดปราจีน) และเมืองสุโขทัย และไนสมัยนั้น ท้องที่คงจะทำไร่นาได้ผลอุดมดี มีไพร่บ้านพลเมืองมาก จึงสามาถส้างเปนเมืองไหย่โตถึงปานนั้น ทำเลที่เมืองวิเชียรเพิ่งมาเกิดแห้งแล้งด้วยเหตุหย่างไดหย่างหนึ่งเมื่อพายหลัง จึงเปนเมืองเล็กลงเพราะอัตคัด ถึงกะนั้น ปรากตไนเรื่องพงสาวดารสมัยกรุงสรีอยุธยาว่า ครั้งรัชกาลสมเด็ดพระมหาธัมราชาธิราช เมืองสีเทพ (ไนหนังสือพงสาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เอาชื่อเจ้าเมืองเรียกว่า เมืองสรีถมอรัตน) กับ