หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/182

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
167

ตอบว่า มักหยู่ไนคน 3 ชนิด คือ คนรับไช้หยู่ไนบ้านเจ้าทรัพย์ที่หยากได้เงิน ชนิดหนึ่ง เพื่อนบ้านที่เปนอริคิดล้างผลานเจ้าทรัพย์ ชนิดหนึ่ง ญาติที่โกรธเจ้าทรัพย์เพราะขอเงินไม่ไห้ ชนิดหนึ่ง

ถามว่า โจรที่ปล้นขึ้นเรือนนั้นไฉนจึงรู้ว่า เขาเก็บเงินทองไว้ที่ไหน

ตอบว่า ประเพนีของโจรปล้น เมื่อขึ้นเรือนได้แล้ว หมายจับตัวเจ้าทรัพย์หรือคนไนเรือนเปนสำคัน เพราะพวกโจรไม่รู้ว่า เงินทองเก็บไว้ที่ไหน ต้องขู่หรือทำทุรกัมบังคับไห้คนไนเรือนนำชี้ จึงได้ทรัพย์มาก ถ้าจับตัวคนไนเรือนไม่ได้ พวกโจรต้องค้นหาเอง มักได้ทรัพย์น้อย เพราะการปล้นต้องรีบไห้แล้วโดยเร็ว มิไห้ทันพวกชาวบ้านมาช่วย

ถามว่า การที่จับตัวเจ้าทรัพย์บังคับถามนั้น ไม่กลัวเขาจำหน้าได้หรือ

ตอบว่า แต่ก่อนมา โจรที่ขึ้นเรือนไช้มอมหน้ามิไห้เจ้าทรัพย์รู้จัก แต่เมื่อการปกครองมีกำนันผู้ไหย่บ้าน เวลาเกิดปล้น ผู้ไหย่บ้านมักเรียกลูกบ้านมาตรวด จะล้างหน้าไปรับตรวดไม่ทัน พวกโจรจึงคิดวิธีไหม่ ไห้โจรที่หยู่ถิ่นถานห่างไกลเจ้าทรัพย์ไม่รู้จักเปนพนักงานขึ้นเรือน ไม่ต้องมอมหน้าเหมือนแต่ก่อน ไห้โจรที่หยู่ไกล้เปลี่ยนไปเปนพนักงานซุ่มระวังทางหยู่ไนที่มืด

ถามว่า โจรชนิดไหนที่เรียกกันว่า "อ้ายเสือ"

ตอบ คำว่า "อ้ายเสือ" นั้นมิไช่ชื่อสำหรับเรียกตัวโจร เปนแต่คำสัญญาที่หัวหน้าสั่งการไนเวลาปล้น เปนต้นแต่เมื่อลอบเข้าไป