หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/211

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
196

หัวเมืองไม่มีทุนและไม่มีคนจะไช้มากเหมือนหย่างไนกรุงเทพฯ จะต้องคิดหาทางหย่างอื่น และทางที่จะจัดนั้นเห็นว่า ควนเอาลักสนะการตามที่เปนหยู่ตามหัวเมืองแล้วตั้งเปนหลักคิดแก้ไขไห้ดียิ่งขึ้นโดยลำดับไป ก็ลักสนะการอนามัยที่เปนหยู่ตามหัวเมืองทั้งปวงนั้น ถ้าพิจารนาแยกกัน ก็มี 3 หย่าง ดังนี้ คือ

หย่างที่หนึ่ง คือ ยาสำหรับรักสาไข้เจ็บเปนของมีไช้หยู่ไนพื้นเมืองแล้ว ความบกพร่องไนเรื่องยาหยู่ที่ไม่รู้จักหรือไม่มียาดีกว่าที่จะไช้เปนสำคัน

หย่างที่สอง คือ ความรู้ที่จะไช้ยาและรักสาพยาบาลไข้เจ็บก็รู้กันแพร่หลายหยู่แล้ว ไครรู้มากก็เรียกว่า "หมอ" มีหยู่ทั่วไปไนพื้นเมือง ความบกพร่องไนเรื่องไช้ยาและรักสาพยาบาลไข้เจ็บหยู่ที่หมอมีความรู้น้อยเพราะไม่ได้เรียนตำรับตำรา อาสัยแต่ความคุ้นเคยเปนสำคัน ไครเคยรักสาไข้มากก็รู้มาก ไครเคยรักสาไข้น้อยก็มีความรู้น้อย ถึงกะนั้น ก็ยังสามารถรักสาไข้ที่ไม่เหลือความรู้ไห้หายได้

หย่างที่สาม คือ ธัมดาคนเจ็บไข้ย่อมกลัวภัยแก่ชีวิตของตน เพราะฉะนั้น ถ้าเชื่อว่าไครจะช่วยชีวิตได้ ก็ไห้คนนั้นมารักสา ถึงผู้อื่นจะบอกว่าหมอคนไหนดีหรือยาขนานไหนดี ถ้าตัวคนไข้ หรือผู้ปกครอง เช่นพ่อแม่ของคนไข้ ไม่เชื่อถือ ก็ไม่ยอมกินยาของหมอคนนั้น จะบังคับขืนไจไม่ได้

เมื่อความจิงเปนหยู่ดังกล่าวมา จึงเห็นว่า การบำรุงอนามัยควนจะอนุโลมลักสนะที่เปนหยู่จึงจะสำเหร็ดประโยชน์ กะทรวงมหาดไทย