หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/253

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
238

เปนสายกลาง คือ ถ้าจีนตั้งสมาคมอั้งยี่หรือสาขาของสมาคมที่ไหน ต้องมาขออนุญาตต่อรัถบาล บอกชื่อผู้เปนหัวหน้าและพนักงานของสมาคมก่อน ต่อไปได้รับอนุญาตจึงตั้งได้ ถ้ารัถบาลมีกิจเกี่ยวข้องแก่พวกอั้งยี่สมาคมไหน ก็จะว่ากล่าวเอาความรับผิดชอบแก่หัวหน้าและพนักงานสมาคมนั้น แต่นั้นมา พวกอั้งยี่สมาคมต่าง ๆ ก็ตั้งกงสีของสมาคม นะ ที่ต่าง ๆ แพร่หลายโดยวิธี "รัถบาลเลี้ยงอั้งยี่" เปนประเพนีสืบมา

ที่เอาเรื่องอั้งยี่ไนหัวเมืองขึ้นของอังกริดมาเล่า เพราะมามีเรื่องเกี่ยวข้องกับเมืองไทยเมื่อพายหลัง ดังจะปรากตต่อไปข้างหน้า

ไนหนังสือจดหมายเหตุของไทยไช้คำเรียกอั้งยี่ต่างกันตามสมัย แต่ความไม่ตรงกับที่จิงทั้งนั้น จึงจะแซกคำอธิบายเรียกต่าง ๆ ลงตรงนี้ก่อน ชื่อของสมาคมที่ตั้งไนเมืองจีนแต่เดิมเรียกว่า "เทียน ตี้ หวย" แปลว่า "ฟ้า ดิน มนุส" หรือเรียกโดยย่ออีกหย่างหนึ่งตามภาสาจีนฮกเกี้ยนว่า "ซาฮะ" ตามภาสาจีนแต้จิ๋วแปลว่า "องค์สาม" เปนนามของอั้งยี่ทุกพวก ครั้นอั้งยี่แยกกันเปนหลายกงสี จึงมีชื่อกงสีเรียกต่างกัน เช่นว่า "งี่หิน ปูนเถ้าก๋ง งี่ฮก ตั้วกงสี ซิวลิกือ" เปนต้น คำว่า "อั้งยี่" แปลว่า "หนังสือแดง" ก็เปนแต่ชื่อกงสีอันหนึ่งเท่านั้น ยังมีชื่อสำหรับเรียกตัวนายอีกส่วนหนึ่ง ผู้ที่เปนหัวหน้าอั้งยี่ไนถิ่นอันหนึ่ง