หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/258

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
243

จีนไหม่เข้าเมืองโดยวิธีดังกล่าวมาแล้วมากขึ้น และการนั้นได้กำไรงาม ก็เกิดแข่งกันเกลี้ยกล่อมจีนไหม่ พวกเถ้าแก่จึงเลยอาสัยจีนไหม่ของตนไห้ช่วยกันเกลี้ยกล่อมจีนเข้ามาไหม่ ตลอดจนไปชิงกันหางานไห้พวกจีนไหม่ของตนทำ ก็เลยตั้งพวกเปนอั้งยี่ด้วยประการฉะนี้ แต่ผิดกับอั้งยี่รัชกาลที่ 3 ด้วยไม่คิดร้ายต่อรัถบาลและมีแต่พวกละน้อย ๆ หลายพวกด้วยกัน

แต่เมื่อปีเถาะ พ.ส. 2410 ก่อนจะสิ้นรัชกาลที่ 4 มีพวกอั้งยี่กำเริบขึ้นที่เมืองพูเก็ต แต่มิได้เกี่ยวข้องกับจีนไนกรุงเทพฯ ด้วย พวกอั้งยี่ที่เมืองพูเก็ตขยายมาจากเมืองขึ้นของอังกริดซึ่งรัถบาลไช้นโยบายหย่าง "เลี้ยงอั้งยี่" ดังกล่าวมาแล้ว พวกจีนไนแดนอังกริดไปมาค้าขายกับหัวเมืองไทยทางตะวันตกหยู่เปนนิจ พวกอั้งยี่ไนแดนอังกริดจึงมาเกลี้ยกล่อมจีนที่เมืองพูเก็ตไห้ตั้งอั้งยี่เพื่อสงเคราะห์กันและกันเปนสาขาของกงสี "งี่หิน" พวกหนึ่งมีประมาน 3,500คน ของกงสี "ปูนเถ้าก๋ง" พวกหนึ่งมีประมาน 4,000 คน หยู่มานายอั้งยี่ทั้งสองพวกนั้นวิวาทกันด้วยชิงสายน้ำที่ทำเหมืองล้างแร่ดีบุก ต่างเรียกพวกอั้งยี่ของตนมารบกันที่กลางเมือง ผู้ว่าราชการเมืองพูเก็ตห้ามก็ไม่ฟัง จะปราบก็ไม่มีกำลังพอการ จึงโปรดไห้เจ้าพระยาภานุวงส์ฯ เมื่อยังเปนที่พระยาเทพประชุน ปลัดทูนฉลองกะซวงกลาโหม เปนข้าหลวงออกไปยังเมืองพูเก็ต ไห้ไปพิจารนาว่ากล่าวเรื่องอั้งยี่วิวาทกัน ถ้าพวกอั้งยี่ไม่ฟังคำบังคับบันชา ก็ไห้เรียกระดมพลตามหัวเมือง