หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/276

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
261

พลตรีผู้ช่วยบันชาการทหานบก คนหนึ่ง นายพลเรือจัตวา พระยาชลยุธโยธินท์ รักสาการแทนนายพลเรือตรี พระองค์เจ้าสายสนิธวงส์ ผู้ช่วยบันชาการทหานเรือซึ่งสเด็ดไปยุโรป คนหนึ่ง ประชุมปรึกสาการที่จะปราบอั้งยี่ เห็นพร้อมกันว่า จะปราบได้ไม่ยากนัก เพราะพวกอั้งยี่ถึงมีมากก็ไม่มีสาตราวุธซึ่งสามาถจะสู้ทหาน อีกประการหนึ่ง อั้งยี่ตั้งรบหยู่ไนถนนจเรินกรุง เปนที่แคบ ข้างตะวันตกติดแม่น้ำ ข้างตะวันออกก็เปนท้องนา ถ้าไห้ทหานยกลงไปทางบกตามถนนจเรินกรุงกองหนึ่ง ไห้ลงเรือไปขึ้นบนข้างที่ไต้รบยกขึ้นมาทางถนนจเรินกรุงอีกกองหนึ่ง จู่เข้าข้างหลังที่รบพร้อมกันทั้งข้างเหนือและข้างไต้ ก็คงล้อมพวกอั้งยี่ได้โดยง่าย แต่การที่จะจับพวกอั้งยี่นั้นมีข้อสำคันอีกหย่างหนึ่ง ด้วยจะไห้ทหานทำการเข้าขบวนรบ ถ้าไปทำแรงเกินไปหรืออ่อนเกินไป ก็จะเสียชื่อทหานทั้งสองสถาน จะต้องระวังไนข้อนี้ มีคำสั่งไห้ทหานเข้าไจทุกคนว่า ต้องจับโดยละม่อม ต่ออั้งยี่คนไดสู้หรือไม่ยอมไห้จับ จึงไห้ไช้อาวุธ อีกประการหนึ่ง จะต้องเลือกตัวหน้าที่จะคุมทหานไห้วางไจว่า จะทำการสำเหร็ดได้ แล้วปรึกสาเลือกกรมทหานที่จะไห้ลงไปปราบอั้งยี่ด้วย ไนเวลานั้น ทหานมหาดเล็กกับทหานเรือถือปืนหย่างดีกว่ากรมอื่น จึงกะไห้ทหานมหาดเล็กเปนกองหน้าสำหรับจับอั้งยี่ ไห้ทหานรักสาพระองค์เปนกองหนุน รวมกัน 4 กองร้อย ไห้เจ้าพระยาราชสุภมิตร (อ๊อด สุภมิตร) เมื่อยังเปนพันตรี จมื่นวิชิตชัยสักดาวุธ รองผู้บังคับการกรมทหานมหาดเล็ก เปนผู้บังคับการ ไห้นายร้อยเอก