หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/288

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
273

หนึ่งตั้งหยู่ทางฝั่งซ้ายลำตะคอง อันเปนลำธารมาแต่เขาไหย่น้ำไหลไปตกลำน้ำมูล อีกเมืองหนึ่งหยู่ทางฝั่งขวาลำตะคอง ไม่ห่างไกลกันนัก เมืองทางฝั่งซ้ายเรียกชื่อว่า "เมืองเสมาร้าง" เมืองทางฝั่งขวาเรียกชื่อว่า "เมืองเก่า" สังเกตดูเครื่องหมายสาสนา ดูเหมือนผู้ส้างเมืองเสมาร้างจะถือสาสนาพราหมน์ ผู้ส้างเมืองเก่าจะถือพระพุธสาสนา ฉันยังจำได้ว่ามีพระนอนสิลาขนาดไหย่หยู่ที่เมืองเก่าองค์หนึ่ง ครั้นไปถึงเมืองนครราชสีมา เห็นลักสนะเปนเมืองฝีมือไทยส้างเมื่อพายหลัง 2 เมืองที่กล่าวมาก่อน รู้ได้ด้วยป้อมปราการล้วนก่อด้วยอิถ และรื้อเอาแท่งสิลาจำหลักจากปราสาทหินครั้งขอมมาก่อแซมกับอิถก็มีหลายแห่ง เมื่อได้เห็นทั้ง 3 เมืองดังว่ามา ฉันคิดวินิจว่า "เสมาร้าง" น่าจะมีก่อนเพื่อน เดิมเห็นจะเรียกว่า "เมืองเสมา" เมื่อตั้ง "เมืองเก่า" เพราะเหตุอันไดอันหนึ่ง ทิ้งเมืองเสมาเปนเมืองร้าง คำว่า "ร้าง" จึงติดหยู่กับชื่อเมืองเสมา เหตุไดจึงเรียกชื่ออีกเมืองหนึ่งว่า "เมืองเก่า" นั้นก็พอคิดเห็นได้ เพราะคำว่า "เก่า" เปนคู่กับ "ไหม่" ต้องมีเมืองไหม่จึงมีเมืองเก่า แสดงความว่าเมืองเดิมตั้งหยู่ที่ตำบนสูงเนิน ครั้นส้างเมืองนครราชสีมาเดี๋ยวนี้ขึ้น ย้ายมาหยู่เมืองไหม่แล้วจึงเรียกเมืองเดิมว่า "เมืองเก่า" แต่เมื่อเมืองยังตั้งหยู่ที่เมืองเก่า ต้องมีชื่อเรียกเมืองนั้นหย่างไดหย่างหนึ่ง เพราะจะเรียกว่า "เมืองเก่า" เมื่อยังไม่มี "เมืองไหม่" ไม่ได้ ข้อนี้ที่ฉันคิดเห็นว่าเมื่อส้าง "เมืองเก่า" ไนสมัยขอม พวกพราหมน์คงเอาชื่อ "เมืองโคราฆะบุระ" ไนมัชชิม

35