หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/296

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
281

ไหมและไก่หมู ตลอดจนปั่นฝ้ายชักไหมและทอผ้า ทุกครัวเรือนสามาถหาอาหารและสิ่งซึ่งจำเปนจะต้องไช้ไนการเลี้ยงชีพได้โดยกำลังลำพังตนเพียงพอไม่อัตคัด ฉันถามว่าสิ่งของที่ทำไม่ได้เอง เช่นมีดพร้าและขีดไฟเปนต้น หาได้ด้วยหย่างได เขาบอกว่าสัตว์ที่เขาเลี้ยงเช่นวัวควายไก่หมู ย่อมออกลูกมีเหลือไช้เสมอ ถึงปีก็มีคนพวกค้าขายสัตว์ เช่นพวกที่ส่งหมูลงมาขายกรุงเทพฯ เปนต้น ไปเที่ยวหาซื้อ เขาขายสัตว์ที่เหลือไช้ได้เงินพอซื้อของที่ต้องการทุกหย่าง ส่วนการปกครองนั้น ไครเปนพ่อบ้านก็ปกครองผู้คนไนบ้านของตน หมู่บ้านอันหนึ่ง มีผู้ไหย่ที่คนนับถือเปน "จ่าบ้าน" ดูแลว่ากล่าวผู้คนไนหมู่บ้านนั้น และที่สุดมี "ตาแสง" เปนนายตำบน ซึ่งเจ้าเมืองเลือกคนไนตำบนนั้นที่ผู้คนนับถือมากตั้งเปนหัวหน้าคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อตั้งพระราชบัญญัติลักสนะปกครองท้องที่มีกำนันผู้ไหย่บ้าน จึงปรับเข้ากับวิธีปกครองหย่างโบรานที่เปนหยู่แล้วได้โดยง่าย ว่าต่อไปถึงคดีธัม ก็มีวัดซึ่งราสดรช่วยกันส้าง แล้วนิมนต์พระพิกสุสงค์ไปหยู่สั่งสอนสีลธัม และวิชาความรู้แก่ชาวบ้าน ไห้สมบูรน์ประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธัมทุกตำบน ลักสนะสมาคมของไทยแต่โบราน ถ้าว่าโดยย่อก็คือคนไนตำบนนั้นมีที่หยู่ และมีที่ทำมาหากินพอกันไม่มีไครอดหยาก แต่ไครทำงานได้ต้องทำงานทุกคนทั้งชายหญิง ไม่มีคนสำรวยหยู่เปล่าหรือเที่ยวขอทานไครกิน ทั้งตำบนไม่มีเสรสถีและไม่มีคนจนเข็นไจ จึงมิไคร่มีไครเปนโจรผู้ร้าย เพราะหยู่เย็นเปนสุขสบายด้วยกันหมด จึงเห็นควนนับว่า