หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/312

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
297

สองตำบนนั้น โดยมากหากินด้วยรับจ้างเอาเรือผ่านแก่งเชียงไหม่ เรือไครถ่อขึ้นไปถึงบ้านนาก็จ้างพวกเชี่ยวชาญชุดหนึ่ง 5 คน หรือ 3 คน ตามขนาดเรือย่อมและเรือไหญ่ไห้พาเรือขึ้นแก่ง เมื่อขึ้นไปพ้นแก่งหมดแล้ว พวกผู้เชี่ยวชาญก็ขึ้นบกเดินข้ามพูเขากลับมาบ้าน ขาล่องเมื่อเรือลงมาถึงบ้านมืดกา ก็จ้างพวกชาวบ้านเอาเรือลงมาส่งถึงไต้แก่งเช่นเดียวกัน วิธีเอาเรือผ่านแก่งเชียงไหม่นั้น ขาขึ้นมักต้องขึ้นคราวเดียวกันหลายลำจึงสดวก พอเรือถึงท้ายแก่งก็เอาเชือกพวนผูกหัวเรือโยงขึ้นไปบนบก ระดมคนขึ้นช่วยกันลาก พวกผู้ชำนาญประจำหยู่ไนเรือเอาถ่อกรานช่วยแรงคนลาก และคอยค้ำหัวและคัดท้ายไห้เรือตรงช่องจนพ้นแก่งแล้วก็ถ่อต่อไปจนถึงแก่งหน้า ขึ้น 7 วันหรือ 10 วัน จึงหมดแก่ง ขาล่องแก่งเชียงไหม่หน้าแล้งล่อง 4 วัน เขาว่าหน้าน้ำ ๆ ท่วมแก่ง เปนแต่ต้องหลีกน้ำวน ล่องวันเดียวก็ตลอดหมด วิธีล่องแก่งมี 2 หย่าง เรียกว่า "ผาย" หย่างหนึ่ง เรียกว่า "ล่องคลองฮีบ" หย่างหนึ่ง วิธีผายนั้นพอเรือไกล้จะถึงหัวแก่งก็ตีกรรเชียงเร่งเรือไห้เข้าสายน้ำที่ไหลลงช่องแก่ง ปล่อยไห้เรือลอยลงมากับเกลียวน้ำที่ตกแก่ง คนข้างหัวคอยเอาถ่อค้ำ คนข้างท้ายคัดตะกูดไห้เรือหลีกเลี่ยงก้อนหิน เรือพุ่งลงมาสักนาทีเดียวก็พ้นเทือกหินถึงวังน้ำนิ่งข้างไต้แก่ง แล้วตีกรรเชียงต่อไป ที่เรียกคลองฮีบนั้น พวกชาวเรือเขาเอาก้อนหินเล็ก ๆ วางเรียงกันทดน้ำไห้ไหลเปนรายลงมาข้างช่องแก่ง ลึกพอครือ ๆ ท้องเรือ ต่อเวลาน้ำน้อยช่องแก่งแคบนัก หรือถ้าเรือขนาดไหญ่ผายลงทางช่องแก่งไม่ได้ จึง

38