หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/315

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
300

ทาง เมื่อฉันออกจากกะทรวงมหาดไทยแล้ว พาลูกขึ้นไปเที่ยวเมืองเชียงไหม่ไนรัชกาลที่ 6 อีกครั้งหนึ่ง ขึ้นไปรถไฟ ขากลับก็กลับทางเรือซ้ำอีก เพราะติดไจแก่งเชียงไหม่ยังไม่หาย จึงได้เคยล่องทางนั้นถึง 2 ครั้ง

จะว่าถึงแก่งแม่น้ำโขงต่อไป เพราะแม่น้ำโขงไหญ่โต แก่งก็ไหญ่โต ช่องแก่งก็กว้าง ผายได้ทั้งเรือแพ แม้จนเรือไฟดาดฟ้าสองชั้น ก็ผ่านแก่งขึ้นล่องได้ตลอดปี ไม่ต้องไช้คลองฮีบ ขาขึ้นแก่งแม่น้ำโขงเขาจะขึ้นกันหย่างไร ฉันไม่เคยเห็น แต่เมื่อคิดเทียบกับแก่งเชียงไหม่ เห็นว่าเรือไฟคงแล่นขึ้นได้ ถ้าเปนเรือพาย ก็คงต้องไช้เชือกโยงลากเรือขึ้นหย่างเดียวกันกับแก่งเชียงไหม่ แต่แพขึ้นไม่ได้หยู่เอง แก่งแม่น้ำโขงมีภัยผิดกับแก่งเชียงไหม่ เปนข้อสำคัญหยู่ที่น้ำวนร้าย พวกชาวเมืองเรียกว่า "เวิน" กลัวกันเสียยิ่งกว่าหินที่ไนแก่ง เพราะธัมดาแก่งย่อมมีวังน้ำลึกหยู่ข้างไต้แก่ง วังทางแก่งเชียงไหม่ไนรึดูแล้งเปนที่น้ำนิ่งดังกล่าวมาแล้ว ต่อรึดูน้ำจึงเปนน้ำวนก็ไม่ไหญ่โตเพียงไดนัก แต่แก่งแม่น้ำโขง เพราะสายน้ำแรงทำไห้น้ำที่ไนวังไหลวนเปนวงไหญ่เวียนลึกลงไปหย่างก้นหอย มีสะดือหยู่ที่กลางวงเปนนิจ ผิดกันแต่ไนรึดูแล้งน้ำวนอ่อนกว่ารึดูน้ำ เรือแพผายลงแก่ง จำต้องผ่านไปไนวงน้ำวน ถ้าหลีกสะดือวนไม่พ้น น้ำก็อาดจะดูดเอาเรือจมหายลงไปไนวนได้ทั้งลำ ดังเช่นเคยเกิดเหตุแก่เรือไฟลาแครนเดีย ลำที่ฉันลงมานั้นเองเมื่อปีหลัง เขาว่ารับนายพลฝรั่งเสสขึ้นไปตรวดทหานที่เมืองหลวงพระบาง ขาล่อง