หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/344

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
329

เมืองชเลียงต่อมา ก็พอคิดเห็นได้ คือ เมื่อถึงสมัยกรุงสุโขทัย พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ไดพระองค์หนึ่ง จะเปนพระเจ้าสรีอินทราทิจผู้เปนต้นราชวงส์ หรือพระเจ้าบาลเมือง ราชโอรสซึ่งรับรัชทายาท หรือแม้พระเจ้ารามคำแหงก็เปนได้ ไห้ส้างเมืองไหม่ มีป้อมปราการก่อด้วยสิลาแลงหย่างมั่นคงสำหรับเปนราชธานีสำรองขึ้นข้างเหนือเมืองชเลียงห่างกันราวสัก 20 เส้น (ขนาดพระราชวังดุสิตห่างกับพระบรมมหาราชวังไนกรุงเทพฯ) ขนานนามเมืองไหม่นั้นว่า "เมืองสรีสัชนาลัย" บางทีจะได้รื้อสิลาปราการเมืองชเลียงไปไช้ส้างเมืองไหม่ แต่เจดียสถานของเดิมที่ไนเมืองชเลียง เช่น ปรางค์สรีรัตนธาตุ เปนต้น เห็นเปนของสักดิ์สิทธิ์มีมาแต่ดั้งเดิม จึงไห้คงรักสาไว้หย่างเดิม ไม่รื้อแย่ง ทิ้งซากเมืองชเลียงไห้คงหยู่ แต่เมื่อส้างเมืองไหม่แล้ว พนักงานบังคับบันชาราชการบ้านเมืองย้ายจากเมืองชเลียงขึ้นไปตั้งหยู่นะเมืองสรีสัชนาลัย ข้อนี้เปนเหตุไห้ชื่อเมืองสรีสัชนาลัยแทนเมืองชเลียงไนทางราชการ สิลาจารึกของเมืองสุโขทัยจึงมีแต่ชื่อเมืองสรีสัชนาลัย ไม่มีชื่อเมืองชเลียง แต่ไนจารึกของพ่อขุนรามคำแหงต้องออกชื่อเมืองชเลียง เพราะพระเจ้ารามคำแหงเอาสิลาจารึกไปประดิสถานไว้นะวัดพระสรีรัตนธาตุที่เมืองชเลียง มิได้เอาไปไว้นะเมืองสรีสัชนาลัย จึงต้องเรียกชื่อเมืองชเลียง

ไนเรื่องเมืองชเลียง มีประหลาดอีกหย่างหนึ่ง เมื่อฉันค้นสิลาจารึกและหนังสือเก่า สังเกตเห็นเรียกชื่อเมืองสรีสัชนาลัยแต่ไนหนังสือหรือจารึกซึ่งแต่งไนกรุงสุโขทัย ถ้าเปนหนังสือแต่งไนประเทสอื่น เช่น 

42