หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/77

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
62

ก็เห็นจะไช้ทั้งค้องและกลองตีบอกเวลาหย่างเดียวกันกับไนเมืองพม่า

ได้เล่ามาแล้วว่า เมื่อฉันลงเรือที่นั่งของมหาราชาพารานสีข้ามแม่น้ำคงคา บ่อโทนฝีพายขานรับคำบูชาพระรามและพลฝีพายขานรับ ดูเปนเค้าเดียวกับขานยาวพายเรือพระที่นั่งไนเมืองไทย แต่ผิดกันเปนข้อสำคันที่ขานยาวของชาวอินเดียขานเปนภาสาสันสกริต และมีความเปนคำบูชาพระราม แต่ขานยาวของไทยเรามีแต่บ่อโทนขานว่า "เหยอว" ฝีพายก็รับว่า "เย่อว" ไม่เปนภาสาได จะหมายความว่ากะไรก็แปลไม่ได้ จึงน่าสันนิถานว่า พราหมน์เห็นจะเอาแบบขานยาวไนอินเดียมาสอนไว้แต่โบราน เดิมก็คงจะเปนมนต์ภาสาสันสกริต มีความว่าหย่างไดหย่างหนึ่ง แต่ไทยเราไม่รู้ภาสานั้น จำคำได้แต่โดยเสียง นานมาก็แปรไป เช่นเดียวกันกับครูอังกริดมาสอนไห้บอกทหารว่า "โชละเดออามส์" (Shoulder Arms) ทหารไทยบอกว่า "โสลด หับ" ฉันนั้น แล้วเลือนหนักลงคงเหลือแต่ว่า "เหยอว เย่อว" คำขานยาวจึงไม่รู้ว่าภาสาไดและหมายความว่ากะไร แต่เห่เรือเปนประเพนีของไทย มิไช่ได้มาจากอินเดีย แต่มีมาเก่าแก่มากเหมือนกัน ข้อนี้พึงเห็นได้ไนบทช้าละวะเห่ เปนภาสาไทยเก่ามาก คงมีเห่บทอื่นที่เก่าปานนั้นอีก แต่คนชั้นหลังมาชอบไช้บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธัมธิเบสร์ซงพระนิพนธ์เมื่อปลายสมัยกรุงสรีอยุธยา ที่ขึ้นต้นว่า "พระสเด็ดโดยแดนชล ซงเรือต้นงามเฉิดฉาย" และบทที่ว่า