หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/84

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
69

ครั้งสุโขทัย ต่อมาไนสมัยกรุงสรีอยุธยาก็เปนเช่นเดียวกัน ถึงแม้การไปมาไนระหว่างเมืองไทยกับอินเดียยังมีหยู่ ก็เปนไนการซื้อขาย ไม่เกี่ยวข้องถึงสาสนา และไปค้าขายเพียงตามเมืองไนอินเดียทางฝ่ายไต้ที่เปนภาคมัทราส Madras บัดนี้ หาปรากตว่า ได้มีไทยไปจนถึงอินเดียตอนมัชชิมประเทสที่พระพุทธเจ้าซงสั่งสอนพระสาสนาไม่ เพราะฉะนั้น การที่สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปถึงมรึคทายวันเมื่อ พ.ส. 2415 เปนการสำคัน ถ้าเรียกหย่างโบรานก็ว่า "สเด็ดไปสืบพระสาสนา" ซึ่งเริดร้างมากว่า 700 ปี และการที่สเด็ดไปครั้งนั้นก็มีผลทำไห้ความรู้ความเห็นของไทยไนโบรานคดีเรื่องพระพุทธสาสนากว้างขวางขึ้นโดยลำดับมาจนบัดนี้ จะเล่าเรื่องที่ปรากตไนชั้นแรกก่อน

เมื่อสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดกลับจากอินเดีย ได้รูปฉายพระ "ธัมเมกข" เจดีย์ ที่เปนพระเจดีย์องค์ไหย่หยู่ไนมรึคทายวัน มาถวายกรมสมเด็ดพระปวเรสวริยาลงกรน์ เปนครั้งแรกที่ไทยจะได้เห็นรูปพระสถูปเจดีย์ไนอินเดีย รูปพระธัมเมกขเจดีย์นั้นเปนพระเจดีย์กลม ตอนล่างไหย่ ตอนบนรัดเล็กเข้าไป ดูเปน 2 ลอน ผิดกับรูปซงพระเจดีย์ที่ส้างกันไนเมืองไทย กรมสมเด็ดพระปวเรสฯ ซงพิจารนากับพระมหาเถระองค์อื่น ๆ ลงมติพร้อมกันว่า รูปพระธัมเมกขเจดีย์ตรงกับไนพระบาลีว่า พระสถูปสันถานเหมือนลอมฟาง (รูปลอมฟางไนเมืองไทยมี 2 หย่าง หย่างหนึ่งเหมือนโอคว่ำ อีกหย่างหนึ่งเปน 2 ลอนเหมือนหย่างรูปพระธัมเมกขเจดีย์) ครั้งนั้น มีผู้เชื่อว่า รูปพระสถูปเจดีย์แบบเดิมคงเปน