หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/94

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
79

องค์ที่ยังปรากตหยู่บัดนี้ แบบหย่างรูปซงผิดกับพระเจดีย์บันดาที่มีไนอินเดียทั้งหมด คงเปนเพราะพราหมน์อมรเทวะเคยถือไสยสาตร ชอบแบบหย่างเทวาลัยหยู่ก่อน เอาเค้าเทวาลัยกับพระเจดีย์ทางพระพุทธสาสนาผสมกัน ทำตอนยอดเปนพระสถูป ตอนกลางเปนปรางค์ ตอนล่างเปนวิหารที่ตั้งพระพุทธรูป เพราะฉะนั้น จึงแปลกกับที่อื่น ส้างด้วยก่ออิถถือปูนทั้งองค์ สันถานเปน 4 เหลี่ยมสูงตลอดยอด 30 วา ตอนล่างที่เปนวิหารกว้าง 8 วา สูง 4 วาเสส ทำคูหาตั้งพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักสัก 3 สอก เปนประธาน ที่ฝาผนังวิหารมีช่องบันไดขึ้นไปบนหลังคา ซึ่งทำเปนหลังคาตัด ลานทักสินรอบพระปรางค์ไหย่องค์กลาง และมีปรางค์น้อยตามมุมลานทักสิน 4 องค์ ปรางค์ไหย่ก็เปนรูป 4 เหลี่ยมซงสอบขึ้นไปทางยอด ทำซุ้มจรนำมีคูหาสำหรับตั้งพระพุทธรูปเรียงรอบพระปรางค์เปนชั้น ๆ ขึ้นไป 9 ชั้น ถึงที่สุดปรางค์ทำพระสถูปเจดีย์กลมไว้เปนยอด เมื่อไหม่ ๆ ดูก็เห็นจะงามแปลกตา

ครั้นถึงสมัยเมื่อพระพุทธสาสนาถูกพวกมิจฉาทิตถิล้างผลานที่ไนอินเดีย มีพวกชาวอินเดียที่ถือพระพุทธสาสนาพากันหนีไปพึ่งพระเจ้าราชาธิราชพม่านะเมืองพุกามอันเปนพุทธสาสนูปถัมภกเปนอันมาก คงไปทูนพรรนนาถึงพุทธเจดียสถานไนอินเดียไห้พระเจ้าคันชิต ราชาธิราชพระองค์ที่ 3 ซงซาบ จึงซงเลื่อมไสสัทธาไห้ปติสังขรน์พระปรางค์พุทธคยาเมื่อราว พ.ส. 1655 ครั้งหนึ่ง ต่อมา พระเจ้าอลองคสิทธุ ราชาธิราชพระองค์ที่ 4 ไปปติสังขรน์อีกครั้งหนึ่ง และพระเจ้าติโลมินโล ราชา