หน้า:ปก วิธีนับเวลาในราชการ (๒๔๗๑-๐๕-๑๗).pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๗๑
เล่ม ๔๕ หน้า ๗๖
ราชกิจจานุเบกษา

แต่เที่ยงคืนล่วงแล้วไปบรรจบเที่ยงคืนขึ้นอีกวิธีหนึ่งในราชการบางทะบวงการ เช่น ในราชการทหารบก ทหารเรือ รถไฟ และไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น เพราะการจดเวลาอย่างหลังนี้สะดวกและไม่มีช่องจะผิดพลาด บัดนี้ ทรงพระราชดำริว่า วิธีนับเวลารอบ ๒๔ นาฬิกานั้นก็เป็นที่เข้าใจแก่ประชาชนส่วนมากอยู่แล้ว สมควรให้ใช้ในราชการทั่วไปได้ เพื่อเป็นความสะดวกแก่ราชการ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วิธีนับเวลารอบ ๒๔ นาฬิกาในกิจราชการทั่วไป คือ แต่เวลาเที่ยงคืนล่วงไป เรียกว่า ๐ นาฬิกา กับเศษนาฑี จนถึง ๖๐ นาฑี เรียกว่า ๑ นาฬิกา และนับดั่งนี้ต่อไปตามลำดับ จนบรรจบเที่ยงคืน เป็น ๒๔ นาฬิกา

ส่วนในกิจการของประชาชน จะใช้วิธีนับเวลารอบ ๑๒ นาฬิกาอยู่ตามเดิมก็ได้ ไม่ห้าม

อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า คำบอกกำหนดเวลาเป็น นาฬิกา และคำบอกย่านระยะเวลาในรอบ ๖๐ นาฑีนั้น ควรใช้คำต่างกันจึ่งจะสะดวก เพราะฉะนั้น คำบอกย่านระยะเวลา ให้ใช้ว่า "ชั่วโมง" ไม่ใช่ "ชั่วนาฬิกา" ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เวลา ๘ นาฬิกาไปจนถึง ๑๐ นาฬิกา นับเป็นระยะเวลา ๒ ชั่วโมง

ประกาศมาณวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ เป็นปีที่ ๔ ในรัชชกาลปัจจุบัน