หน้า:ปก สนร (๒๔๘๕-๐๕-๒๙).pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

๑ มิถุนายน ๒๔๘๕

เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๓๕
๑๑๓๘
ราชกิจจานุเบกสา

เพื่อได้เล่าเรียนกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้พิจารนาเห้นว่า ตัวสระและพยัญชนะของภาสาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น ถ้าได้งดไช้เสียบ้าง ก็จะเป็นความสดวกไนการสึกสาเล่าเรียนภาสาไทยไห้เป็นที่นิยมยิ่งขึ้น ตัวอักสรที่ควรงดไช้ คือ—

สระ

สระ ใ, ฤ, ฤๅ, ฦ, ฦๅ รวม ๕ ตัว

พยัญชนะ

พยัญชนะ ฃ, ฅ, ฆ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ศ, ษ, ฬ รวม ๑๓ ตัว ส่วน ญ (หญิง) ไห้คงไว้ แต่ไห้ตัดเชิงออกเสีย คงเป็นรูป ญ (ไม่มีเชิง)

ดังนั้น อักสรที่จะไช้ไนภาสาไทย จะมีดังต่อไปนี้

สระ

ะ (อะ)  (อั–) า (อา)  (อิ)  (อี)  (อึ)  (อื)  (อุ)  (อู) เ–ะ (เอะ) เ (เอ) แ–ะ (แอะ) แ (แอ) โ–ะ (โอะ) โ (โอ) เ–าะ (เอาะ) –อ (ออ) –ัวะ (อัวะ) –ัว (อัว)