หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
กฎหมายลักษณะประกันภัย

ตามธรรมดาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นว่า คู่สัญญามีส่วนได้เสียหรือไม่ ศาลมักตีความไปในทางฟังว่า มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ ก็เพราะเมื่อผู้รับประกันภัยได้รับเบี้ยประกันไปแล้ว ข้อที่จะอ้างว่า ผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสีย มักเป็นเรื่องคัดค้านในทางเทฆนิค ซึ่งว่ากันตามรูปเรื่องระหว่างผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยแล้ว ข้อคัดค้านเช่นนี้หาควรชะนะไม่ แต่ในขณะเดียวกัน ศาลก็ต้องระวังอยู่เหมือนกันว่า การตีความนั้นจะต้องอยู่ภายในขอบเขตต์จำกัด จะตีความโดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งไม่ปรากฏในคดีไม่ได้ และจะตีความให้เป็นการขยายกฎหมายจนเกินสมควรไปก็หาได้ไม่ มิฉะนั้น บุคคลก็จะแอบอ้างทำสัญญาประกันภัยขึ้นเป็นเครื่องบังหน้าการพะนัน

ส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิต:- ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การมีส่วนได้เสียในชีวิตที่เอาประกัน ตามธรรมดาย่อมหมายความถึง ส่วนได้เสียที่เป็นเงินเป็นทอง (pecuniary interest) แต่ในบางกรณี ส่วนได้เสียอันเป็นเหตุส่วนตัว (personal interest) ก็เป็นการเพียงพอ.

ส่วนได้เสียเป็นเงินทอง

ที่จะรู้ว่า บุคคลมีส่วนได้เสียเป็นเงินทองในชีวิตของผู้อื่นหรือไม่นั้น มีหลักอยู่ว่า ถ้าการตายของบุคคลใดจะทำให้เราต้องเสี่ยงภัยในการเสียทรัพย์สินหรือเกิดความรับผิดตามกฎหมายขึ้นไซร้ เรา

ม.ธ.ก.