หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐
กฎหมายลักษณะประกันภัย

ย่อมมีส่วนได้เสียในชีวิตของบุคคลผู้นั้น บุคคลต่อไปนี้ ศาลเมืองต่างประเทศถือว่า เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือ

เจ้าหนี้:- เจ้าหนี้ย่อมมีส่วนได้เสียในชีวิตของลูกหนี้และของผู้ค้ำประกัน ส่วนได้เสียในที่นี้มีจำกัดเพียงเท่าจำนวนหนี้ที่จะต้องชำระในเวลาทำสัญญาประกันชีวิต

หนี้ที่จะต้องชำระในที่นี้ จะต้องเป็นหนี้ที่กฎหมายรับบังคับให้ เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นหนี้ที่เกิดจากการพะนัน ก็หาพอที่จะให้เจ้าหนี้มีส่วนได้เสียในชีวิตของลูกหนี้ไม่ ศาลอังกฤษตัดสินในคดีเรื่องหนึ่งว่า ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินหามีส่วนได้เสียในชีวิตของผู้ออกตั๋วไม่ ถ้าปรากฏว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ออกให้เนื่องจากการพะนัน แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้สำหรับหนี้สินที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้ออกตั๋วเป็นผู้เยาว์นั้น ถือว่า ผู้รับเงินมีส่วนได้เสียในชีวิตของผู้ออกตั๋ว

ถึงแม้ว่า ลูกหนี้จะได้ชำระหนี้ในภายหลังที่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตแล้วก็ดี สัญญาประกันชีวิตลูกหนี้ก็ยังใช้บังคับได้ (ดูหน้า ต่อไป) แต่ในอเมริกาถือว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ประกันชีวิตตนเองโดยระบุชื่อเจ้าหนี้ให้เป็นผู้รับประโยชน์ ถ้าลูกหนี้ได้ชำระหนี้สินนั้นแล้ว เจ้าหนี้ก็ไม่มีส่วนได้เสียอีกต่อไป สัญญาประกันชีวิตย่อมกลายเป็นเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้เอง

ถีงแม้ว่า เจ้าหนี้จะมีหลักประกันอย่างอื่นจนคุ้มกับจำนวนหนี้อยู่แล้วก็ดี ดูเหมือนถือกันว่า เจ้าหนี้นั้นยังคงมีส่วนได้เสียในชีวิตของลูกหนี้อยู่

ม.ธ.ก.