หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
กฎหมายลักษณะประกันภัย

เหตุที่ภัยที่อาจจะเกิดนั้นย่อมไม่ใช่เป็นของแน่นอนเสมอไป เพราะฉะนั้น ถ้าได้คำนวณผลได้ผลเสียในการนี้โดยรอบคอบแล้ว ก็อาจมีทางนำมาซงผลกำไรได้เหมือนกัน โดยเหตุนี้ การประกันภัยจึงเป็นกิจการที่กระทำกันแพร่หลายทั่วไปทุกประเทศ

ประเภทต่าง ๆ ของสัญญาประกันภัย:- สัญญาประกันภัยมักจัดแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ สามประเภท คือ

(๑) ประกันวินาศภัย (Insurance against loss)

(๒) ประกันชีวิต (Insurance on life)

(๓) ประกันภัยทะเล (Maritime insurance)

สำหรับประกันภัยทะเลนั้น ตามกฎหมายประเทศต่าง ๆ มักมีบทบังคับเป็นพิเศษต่างหากจากประกันภัยอย่างอื่น และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรา มาตรา ๘๖๘ ก็บัญญัติว่า "อันสัญญาประกันภัยทะเล ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล" เพราะฉะนั้น ในที่นี้จะได้กล่าวแต่ฉะเพาะที่เกี่ยวกับประกันชีวิตและประกันวินาศภัยเป็นส่วนใหญ่

สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาทดแทนความเสียหาย:- สัญญาประกันวินาศภัยนั้น มักกล่าวกันว่า เป็นสัญญาทดแทนความเสียหาย (Contract of indemnity) ส่วนสัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาประกันภัยชะนิดที่ไม่ทดแทนความเสียหาย (Non-indemnity insurance) จึงมักถือกันว่า มิใช่สัญญาประกันภัยอันแท้จริง

ม.ธ.ก.