หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
กฎหมายลักษณะประกันภัย

ที่ว่า เป็นสัญญาทดแทนความเสียหาย นั้น หมายความว่า เมื่อมีภัยเกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยเสียหายไปเท่าใด ผู้รับประกันภัยก็จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ตามจำนวนที่เกิดการเสียหายขึ้นเนื่องจากวินาศภัยที่เอาประกันไว้นั้น เช่น สมมติว่า ข้าพเจ้าเอาบ้านไปประกันไฟไว้เป็นจำนวน ๑๐๐๐ บาท ถ้าไฟไหม้บ้านข้าพเจ้าเสียหายเพียง ๓๐๐ บาท จำนวนเงินที่ข้าพเจ้าจะเรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยได้ก็เพียง ๓๐๐ บาทเท่านั้น ถ้าและข้าพเจ้ามิได้เสียหายเลย ก็เรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยไม่ได้เลย ดั่งนี้เป็นต้น

การที่มีหลักว่า สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาทดแทนความเสียหายนั้น เนื่องมาจากเหตุที่ว่า ถ้าไม่ถือหลักดั่งนั้น กล่าวคือ ถ้าจะยอมให้ผู้เอาประกันภัยมีทางได้กำไรจากการประกันภัยแล้ว ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตหรือประมาทเลินเล่อเพื่อให้เกิดภัยขึ้นแก่ทรัพย์ที่ได้เอาประกันไว้นั้น

วิเคราะห์ศัพท์:- มาตรา ๘๖๑ ให้วิเคราะห์ศัพท์ของสัญญาประกันภัยไว้ ดั่งนี้ "อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้ บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย"

โดยเหตุที่ คำว่า "สัญญาประกันภัย" ในมาตรา ๘๖๑ นี้ย่อมกินความถึงสัญญาประกันวินาศภัยและกินความถึงสัญญาประกัน

ม.ธ.ก.