หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/7

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
กฎหมายลักษณะประกันภัย

ในข้อที่ว่า ในสัญญาประกันภัยนั้น ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาโดยหวังจะประกันภัยที่ตนต้องเสี่ยงอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องการพะนันขันต่อ ภัยหรือโชคที่จะต้องเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องจากเข้าทำสัญญากันอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือ ถ้ามิได้ทำสัญญากัน ภัยหรือโชคที่จะเสี่ยงนั้นก็จะไม่เกิดขึ้นเลย เช่น ข้าพเจ้าจะส่งข้าวสารไปต่างประเทศ ข้าพเจ้าย่อมต้องเสี่ยงภัยในการที่ข้าวสารอาจเกิดศูนย์หรือเสียหายขึ้นในระหว่างทางอยู่แล้ว หากบริษัทตกลงจะใช้ค่าสินใหมทดแทนให้แก่ข้าพเจ้าเมื่อมีการเสียหายเกิดขึ้น และข้าพเจ้าก็ตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัท เช่นนี้ ย่อมเป็นสัญญาประกันภัย แต่การที่ข้าพเจ้ากับท่านมีความเห็นไม่ตรงกันว่า ม้าแข่งตัวไหนจะชะนะ ข้าพเจ้าจึงตกลงกับท่านว่า ถ้าม้าขาวชะนะ ข้าพเจ้าจะจ่ายเงินให้ ๕๐ บาท หากไม่ชะนะ ท่านจะต้องจ่ายเงินให้ข้าพเจ้า ๕ บาท เช่นนี้ ถ้าข้าพเจ้าไม่ตกลงกับท่าน ข้าพเจ้าก็ไม่มีภัยที่จะต้องเสี่ยง ข้อตกลงระหว่างท่านกับข้าพเจ้าจึงเป็นการพะนัน หาใช่สัญญาประกันภัยไม่.

กล่าวอีกนัยหนึ่ง สำหรับสัญญาประกันภัยนั้น ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ (Insurable interest) ส่วนในเรื่องการพะนันหรือขันต่อนั้น คู่สัญญาไม่มีส่วนได้เสียในเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น เว้นแต่ที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญา.

ม.ธ.ก.