หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
กฎหมายลักษณะประกันภัย

หมวด ๒
ส่วนได้เสีย

การทำสัญญาประกันภัยหรือประกันชีวิตนั้น ใคร ๆ ก็เข้าทำได้ ถ้าหากตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินหรือในชีวิตที่จะเอาประกันนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดมีส่วนได้เสียที่กฎหมายรับรองในอันที่จะรักษาให้คงสภาพไว้ซึ่งทรัพย์สิ่งสิ่งใด หรือมีส่วนได้เสียในการทรงชีพของบุคคลใด บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิที่จะเอาประกันทรัพย์สินสิ่งนั้นหรือชีวิตนั้นได้

มาตรา ๘๖๓ บัญญัติว่า "อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่า ย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด"

ส่วนได้เสียคืออะไร:- อย่างไรเรียกว่า ส่วนได้เสีย นั้น ประมวลแพ่งมิได้วิเคราะห์ศัพทืไว้ แต่มีผู้อธิบายคำว่า "ส่วนได้เสีย" ในสัญญาประกันภัยไว้ว่า เป็น "สิทธิในทรัพย์สินหรือสิทธิซึ่งเนื่องมาแต่สัญญาอันเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกันไว้ ซึ่งสิทธินั้นอาจศูนย์ไปเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนเกิดขึ้น ยังผลให้เป็นที่กระทบกระเทือนในการที่ผู้เอาประกันภัยจะครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น" เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นแต่เพียงความมุ่งหวังที่จะได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ว่าความมุ่งหวังนั้นจะใกล้ต่อผลสำเร็จสักเพียงใด ก็หาเรียกว่าเป็นส่วนได้เสียตามความหมายใน

ม.ธ.ก.