หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/9

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
กฎหมายลักษณะประกันภัย

ที่นี้ไม่ เช่น สมมติว่า ก. เป็นคนมั่งมีและเป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่ง ก. มีบุตร์คนเดียว คือ ข. ก. อายุ ๙๐ ปีและเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถจะทำพินัยกรรม์ยกบ้านหลังนั้นให้แก่ผู้ใด เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ทำอย่างไรเสีย ข. ก็จะได้เป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น แต่อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายยังหาถือกันว่า ข. มีส่วนได้เสียในบ้านหลังนั้นไม่.

หลอกแบลกเบอร์น (Lord Blackburn) ผู้พิพากษาอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า "ที่จะรู้ว่า บุคคลใดมีส่วนได้เสียในเหตุการณ์อันใดหรือไม่นั้น พึงพิจารณาดังนี้ คือ ถ้าเหตุการณ์อันได้ประกันภัยไว้นั้นเกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับประโยชน์ ถ้าเหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับความเสียหาย" เหตุการณ์ในที่นี้ เช่น ประกันภัยว่า เรือลำใดลำหนึ่งจะมาถึงโดยสวัสดิภาพ เพราะฉะนั้น ถ้าเรือมาถึง ผู้รับประกันภัยก็จะได้รับประโยชน์ ถ้าเรือล่มเสียกลางทาง มาไม่ถึง ผู้เอาประกันก็ได้รับความเสียหาย ดั่งนี้เป็นต้น

นอกจากนี้ มีผู้กล่าวว่า บุคคลใดซึ่งโดยผลแห่งสัญญาจะต้องรับผิดใช้เงินเมื่อมีการเสียหายเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินสิ่งใด ย่อมมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินสิ่งนั้น

ส่วนได้เสียในสัญญาประกันวินาศภัย:- ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ศาลเมืองต่างประเทศถือว่า เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาประกันวินาศภัย คือ "เจ้าของทรัพย์" "ผู้เช่า" "ผู้ยืม" "ผู้ขนส่ง" "ผู้รับจำนำ" "ผู้รับประกันภัย" ฯลฯ

ม.ธ.ก.