หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๐๘) - ๒๔๗๘.pdf/217

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐๐

เปนไทย ได้ผัวได้ลูก มีช่องที่จะประกอบกิจทำมาหากินได้บ้าง เมื่อเปนดังนี้ จะเปนการรุ่งเรืองเจริญแก่ประชาชาวพระนครสยามโดยแท้ จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำหรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้ที่ปฤกษาราชการแผ่นดินตราพระราชกฤษฎีกาเปนพระราชบัญญัติไว้ให้พระบรมวงษานุวงษ แลข้าราชการทุกกระทรวงบวงการฝ่ายทหารพลเรือน แลอาณาประชาราษฎร์ในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองเอกโทตรีจัตวาฝ่ายใต้ฝ่ายเหนือ ให้ทราบทั่วกันว่า จุลศักราช ๑๒๓๐ ปีมโรง สัมฤทธิศก นี้ เปนปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาพิเศกในพระมหาเสวตรฉัตร เปนปีมหามงคลอันประเสริฐ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นพระราชบัญญัติลักษณลูกทาษนี้ว่า ตั้งแต่นี้สืบไป

 มาตรา  ถ้าลูกทาษชายหญิงเกิดเมื่อจุลศักราช ๑๒๓๐ ปีมโรง สัมฤทธิศก นี้เปนต้นไป ให้คิดค่ากระเษียรอายุตั้งแต่เดือนหนึ่ง ๒ เดือน ๓ เดือนจนอายุ ๘ ปีเต็มค่าตัว ตั้งแต่ ๘ ปีต่อไป ให้ลดกระเษียรอายุลงทุกปี ถึงอายุ ๒๑ ปี ขาดค่า ให้ลูกทาษพ้นค่าตัวเปนไทย ๚ะ

 มาตรา  ตรางกระเษียรอายุลูกทาษ ทรงพระราชบัญญัติตั้งใหม่ ให้ใช้แต่ลูกทาษแลบุตรราษฎรที่ยังเปนไทยไม่เปนทาษ จำเพาะแต่ที่เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก แลปีมเสง เอกศก ต่อ ๆ ไป คือ ชายอายุเดือนหนึ่ง ๒ เดือน ๓ เดือน กระเษียรอายุเงินตำลึงกึ่ง ๔ เดือน ๕ เดือน ๖ เดือน สองตำลึง ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน สองตำลึงกึ่ง ๑๐ เดือน ๑๑ เดือน สามตำลึง ๑ ปี ๒ ปี สี่ตำลึง ๓ ปี ๔ ปี ห้าตำลึง ๕ ปี ๖ ปี หกตำลึง ๗ ปี ๘ ปี แปดตำลึง ๙ ปี ๑๐